Page 39 - kpiebook65057
P. 39

2.1)  ข้อเสนอเพื่อมุ่งไปสู่การเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา


                     ในการที่จะพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองให้เป็นการเมืองที่พึงปรารถนานั้น
             จำเป็นจะต้องเสริมสร้างคุณภาพของพลเมืองให้เป็นพลเมืองสำหรับสังคม

             ประชาธิปไตย ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อน
             การเมืองภาคพลเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ เพื่อเสริมสร้างการเรียน
             รู้การเมืองภาคพลเมืองจากการปฏิิบัติ นอกจากนี้ ต้องพัฒนาระบบสภาพแวดล้อม

             ทางสังคมการเมืองให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง
             คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้


                           2.1.1) การเสริมสร้างคุณภาพของพลเมือง



                           ระบบการศึกษาของไทยควรเป็นระบบที่พัฒนาพลเมืองให้เป็น
             พลเมืองสำหรับสังคมประชาธิปไตย เป็นพลเมืองที่มีความรู้ความเข้าใจในทางการเมือง
             ทั้งระบบการเมืองภาคผู้แทน และการเมืองภาคพลเมือง มีคุณลักษณะของพลเมือง

             ที่มีคุณภาพที่มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการใช้สิทธิและเสรีภาพ ตลอดจน
             เป็นพลเมืองที่มีคุณธรรมความเป็นพลเมือง (Civic virtue) การเสริมสร้างคุณภาพ

             พลเมือง ควรให้พลเมืองมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้


                           •      การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง (Civic
             Education) ให้ความรู้เรื่องสิทธิความเป็นพลเมือง เช่น สิทธิในการรวมกลุ่ม สิทธิ
             ในการดำเนินกิจกรรม สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิ

             ในการเสนอนโยบาย สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
             ที่พลเมืองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง และ

             ควรให้การศึกษาทั้งในเชิงวิชาการและในทางปฏิิบัติในเรื่องสิทธิความเป็นพลเมือง
             ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ











                                            XXXVIII
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44