Page 183 - kpiebook65057
P. 183

สาธารณะที่ตอบสนองต่อประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นล่างในชนบท กลุ่มแรงงาน
             รวมถึงกลุ่มชาวนา เกษตรกรได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการเมืองมากขึ้น


                     แม้ว่ายุคนี้จะเป็นยุคที่การเมืองภาคพลเมืองเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก

             อย่างไรก็ตามการที่รัฐธรรมนูญปี 2540 เพิ่มอำนาจให้กับประชาชนและมุ่งกระจาย
             อำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้บทบาทของภาคประชาชนและชุมชน
             มีความเข้มแข็งมากขึ้นและเข้าไปเบียดบังอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะ

             กลุ่มข้าราชการที่เคยมีบทบาทในทางการเมือง รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นปัจจัยสำคัญ
             ที่ทำให้โครงสร้างทางการเมืองเป็นโครงสร้างที่จัดสรรอำนาจให้กับภาคประชาชน

             มากกว่าภาคราชการและกลุ่มการเมืองเก่า จึงกลายเป็นความขัดแย้งในการจัดสรร
             อำนาจทางการเมือง และการจัดสรรผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองที่ไม่ลงตัว
             ก่อให้เกิดความอ่อนแอของฝ่�ายทหาร กองทัพและชนชั้นนำ รวมถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

             ข้าราชการประจำ และกลุ่มธุรกิจเอกชนที่เคยได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐ
             การสูญเสียอำนาจทางการเมืองของฝ่�ายอำมาตย์ให้กับฝ่�ายประชาธิปไตยทำให้เกิด

             ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมือง เพื่อจัดสรรอำนาจทางการเมือง
             ใหม่ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและความพยายามช่วงชิงอำนาจของฝ่�ายการเมืองเก่า
             นำไปสู่การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และมีผลให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง

             ต้องสูญเสียอำนาจบริหารของตน


                     การรัฐประหารโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ใน พ.ศ. 2549
             แม้จะถูกเรียกว่าเป็นการรัฐประหารที่ไม่มีการนองเลือด อย่างไรก็ตามผลกระทบของ

             การทำรัฐประหารในครั้งนั้น คือ มีการใช้ความรุนแรงในการจัดการกับกลุ่มมวลชน
             ที่ลุกขึ้นต่อต้านการรัฐประหาร รวมถึงการใช้กฎหมายในการดำเนินคดีและจับกุม

             ประชาชนที่ออกมาต่อต้าน การรัฐประหารเป็นปัญหาทางการเมืองที่เกิดบ่อยครั้งนับ
             ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับการครอบงำ
             อำนาจทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำนายทุน อำมาตย์ และข้าราชการระดับสูง

             จำนวนหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองโดยการทำรัฐประหารของกองทัพ
             ส่งผลให้การเมืองภาคพลเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาอ่อนแอลง และก่อให้เกิด





                                              128
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188