Page 180 - kpiebook65057
P. 180
ตัวอย่างของประเด็นที่มีการผลักดันของภาคประชาชนหลังการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 พบว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการจัดการลุ่มน้ำ ป�าไม้
ทะเล แร่ ได้ถูกนำมาพิจารณาเมื่อรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนในเรื่อง การมีส่วนร่วม
หรือการเข้ามาแสดงความคิดเห็นผ่านกระบวนการในการกลั่นกรองในกรรมาธิการ
วุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2543 มีการตั้งกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อ
ขับเคลื่อนในประเด็นข้อเรียกร้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการจัดสรรอำนาจทางการเมือง
ให้กับภาคประชาชนและทำให้กลไกรัฐสภาสามารถตอบสนองในเรื่องของการเมือง
ภาคพลเมืองมากขึ้น ดังนั้นปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของกลุ่มสมัชชาคนจน
ปัญหาการจัดการทรัพยากร เช่น เหมืองแร่ ประมงพื้นบ้านในจังหวัดภาคใต้ ปัญหา
ที่ดินทำกิน มีการตอบสนองจากกลไกรัฐสภามากขึ้น มีการแต่งตั้งให้หน่วยงานต่างๆ
เข้าไปตรวจสอบการทำงานของรัฐ ส่งผลให้รัฐมีโครงสร้างในเชิงนโยบายในการกำกับ
คุ้มครอง และตรวจสอบการทำงานของรัฐ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและรัฐบาลที่มี
นโยบายที่สนับสนุนการทำงานของภาคประชาชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น
ในส่วนของที่มาของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ
เนื่องจากเป็นยุคต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่งนับว่าประชาชน
ทั้งหมดอยู่ฝ่�ายเดียวกันคือยืนอยู่ตรงข้ามกับฝ่�ายเผด็จการทหาร มีความเป็นเอกภาพ
ประชาชนสนับสนุนให้มีการปฏิิรูปการเมือง จึงมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนา
5
ประชาธิปไตย (คพป.) ยกร่างข้อเสนอเพื่อปฏิิรูปการเมือง การแก้ไขมาตรา 211 และ
นำมาสู่การจัดตั้ง สสร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ซึ่งความสำเร็จที่ทำให้ประเทศไทย
สามารถร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลจาก สสร. ที่มีองค์ประกอบหลากหลาย ทำให้
องค์กรภาคประชาชนมีโอกาสผลักดันแนวคิดและแนวทางต่างๆ ได้ อาทิ การผลักดัน
5 คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการวางแนวทางและกรอบ
ความคิดสำหรับการปฏิิรูปการเมืองในช่วงเวลา พ.ศ. 2535-2540 และส่งอิทธิพลสำคัญต่อ
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 โดยคณะกรรมการนี้ได้
รับการแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ พ.ศ. 2537 ให้ดำเนินการค้นคว้าหาแนวทางการปฏิิรูป
การเมือง แล้วเสนอกลับมายังสภาผู้แทนราษฎรในการสร้างกระบวนการปฏิิรูปการเมืองในเวลา
ต่อมา (อิทธิพล โคตะมี, มปป)
125