Page 184 - kpiebook65057
P. 184
ความแตกแยกทางสังคมในระดับที่ร้าวลึก ประชาชนแบ่งออกเป็นสองฝ่�ายและ
มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง จนกลายเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์
ทางการเมืองระหว่างฝ่�ายเสรีนิยมกับฝ่�ายอนุรักษ์นิยม
7) ยุคประชาธิปไตยถดถอย พ.ศ. 2550 - 2560
หลังจากความขัดแย้งทางการเมืองปะทุขึ้นในสังคมไทย เกิดการรัฐประหาร
ใน พ.ศ. 2549 และนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกเขียนขึ้นโดยฝ่�ายการเมืองที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วม ถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีความพยายามในเรื่องของการปฏิิรูป
การเมือง โดยการจัดตั้งองค์กรเข้ามาส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ไม่ว่าจะเป็น
การจัดทำพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง
ที่พยายามเข้ามาสนับสนุนการเมืองภาคพลเมืองจากฐานล่างโดยมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อปฏิิรูปการเมือง อย่างไรก็ตามการเมืองภาคพลเมืองยังอยู่ภายใต้การกำกับ
ควบคุมโดยอำนาจรัฐ อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังทำการจัดสรรอำนาจที่มุ่งให้กลุ่มอำมาตย์
ข้าราชการ ชนชั้นนำและกลุ่มทุนมีอำนาจมากขึ้น โครงสร้างอำนาจทางการเมือง
อยู่ในการควบคุมของกลุ่มเครือข่ายชนชั้นนำ และกองทัพ ส่งผลให้ยุคนี้เรียกว่า
ยุคประชาธิปไตยถดถอย การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองทำให้การกระจายอำนาจ
ที่ไม่สามารถกระจายลงไปสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพทางการเมือง คือ ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
ลดลง มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางการเมือง โดยแบ่งเป็นค่านิยมในระบอบ
ประชาธิปไตยที่ลดลง ส่วนค่านิยมในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ทำให้
การเมืองภาคพลเมืองอ่อนแอลงต่อเนื่องอันเกิดจากปัญหาการรวมศูนย์อำนาจ
ทางการเมือง ปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาสถาบันทางการเมืองที่ไม่เป็น
ประชาธิปไตย อาจกล่าวได้ว่ายุคนี้บทบัญญัติและกติกาในรัฐธรรมนูญมีส่วนอย่างมาก
ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งทำให้สิทธิ เสรีภาพ
ของประชาชนถดถอยลงต่อเนื่อง
129