Page 181 - kpiebook65057
P. 181

ให้มีองค์กรใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายตามกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
             ได้ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
             จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบ การกระจายอำนาจที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวทางการเมือง

             ของประชาชน อย่างไรก็ตามกลไกของรัฐธรรมนูญยังไม่สามารถที่จะควบคุม ลด
             ทอนการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระของฝ่�ายการเมืองได้ อีกทั้งยังเอื้อให้

             ฝ่�ายบริหารมีความเข้มแข็งมากขึ้นจนนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองในเวลาต่อมา


                     ปัจจัยที่ส่งผลให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งอีกปัจจัยหนึ่ง คือ
             การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ผู้คนจากภาคอุตสาหกรรม

             ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจได้หันไปปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
             ในการเยียวยาผลกระทบ มีการกลับไปในพื้นที่ชนบทเพื่อทำเกษตร ผลของวิกฤต
             เศรษฐกิจในครั้งนั้นทำให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มเป็นที่ยอมรับในสังคมไทย

             เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจชุมชนในชนบท มีการสร้างเครือข่าย
             กสิกรรมธรรมชาติ การตั้งเครือข่ายเกษตรกรรม ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนำไปสู่

             การกระจายแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมืองลงสู่ชุมชนท้องถิ่น ผลจากการเติบโต
             ของการเมืองภาคพลเมืองในทศวรรษ 2530 กระแสประชาธิปไตยที่แพร่หลายมากขึ้น
             การมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างกฎหมาย กำหนดนโยบาย ตรวจสอบถ่วงดุล

             อำนาจ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มุ่งการกระจายอำนาจ
             ทางการเมืองสู่ท้องถิ่น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิิรูปการเมืองที่สำคัญอันนำมาซึ่ง

             การมีส่วนร่วมของการเมืองภาคพลเมืองในพื้นที่ต่างๆ


                     หลังการปฏิิรูปการเมือง พ.ศ. 2540-2545 การเมืองภาคพลเมืองมีลักษณะ
             ของการขยายเป้าหมายไปมากกว่าการต่อต้านอำนาจรัฐไปสู่การกดดันในเชิงนโยบาย

             และกฎหมาย มีความพยายามที่จะผลักดันเชิงนโยบายมากขึ้นโดยเฉพาะจากกลุ่ม
             องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มองค์กรทางสิ่งแวดล้อม กลุ่มองค์กรสตรี
             กลุ่มสิทธิมนุษยชน กลุ่มความหลากหลายทางเพศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง

             ในเชิงปริมาณสู่คุณภาพ กล่าวคือ มีการพัฒนาการเคลื่อนไหวที่เป็นระบบมากขึ้น
             ไม่ทำเป็นกลุ่มเล็กกระจัดกระจายเหมือนสมัยก่อน มีการเสนอข้อเรียกร้องที่ชัดเจน





                                              126
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186