Page 179 - kpiebook65057
P. 179
นโยบายรัฐและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ประสิทธิภาพทางการเมืองตกต่ำ กล่าวคือ
ประชาชนไม่ไว้วางใจผู้นำทางการเมืองและรัฐบาล สืบเนื่องมาจากรัฐมีส่วนสนับสนุน
การดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจเอกชน โครงการการพัฒนา
เศรษฐกิจ เช่น การตัดถนน โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบชลประทาน การสร้าง
เขื่อน การพัฒนาเส้นทาง การค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ ซึ่งผู้นำประเทศที่ได้
รับการอุปถัมภ์จากกลุ่มทุนเมื่อมีอำนาจได้ออกนโยบายและกฎหมายที่เอื้อประโยชน์
ให้พวกตน เกิดปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย และมีนโยบายของรัฐจำนวนมาก
ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ชาวบ้าน ในพื้นที่อันเป็นผลของการได้รับอิทธิพลจาก
นายทุนรายใหญ่ นโยบายของรัฐไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ขาดการรับฟื้ังความคิดเห็น
จากประชาชน ขาดการศึกษาประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น ขาดการตั้งกองทุนเพื่อ
ชดเชยความเสียหาย เช่น กองทุนเพื่อการฟื้้�นฟืู้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ กองทุน
เพื่อการชดเชยให้กับชาวบ้านที่ต้องอพยพออกจากท้องที่ นำไปสู่ความไม่พอใจและ
การชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้เกิดการยกเลิกนโยบายการพัฒนา การเรียกร้องให้ภาครัฐ
จ่ายเงินชดเชยและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
6) ยุครัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและการเติบโตของการเมือง
ภาคพลเมือง พ.ศ. 2540 -2549
กระแสโลกาภิวัตน์และกระแสการเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสาร
อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว การส่งต่อข้อมูล
ทำได้ง่ายขึ้น กระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
ส่งผลต่อกระแสความตื่นตัวทางการเมืองของ นิสิตนักศึกษา และทำให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น อาทิ การเรียกร้องประเด็นเกี่ยวกับสิทธิชุมชน
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประเด็นด้านการคุ้มครองแรงงาน สิทธิมนุษยชน
ระบบสวัสดิการสังคม รัฐธรรมนูญ ฯลฯ ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 กำหนดเจตนารมณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบกับ
มีการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้ภาคประชาชน
มีความเข้มแข็ง และเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุล และมีบทบาท
ในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ
124