Page 178 - kpiebook65057
P. 178
อีกทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจภายใต้การบังคับใช้ “ฉันทามติ
วอชิงตัน” (Washington consensus) ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องนำแนวนโยบาย
ขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ไปปรับใช้
เป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศ นโยบายเหล่านี้มีผลให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจ
ทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการใช้
ผลิตภัณฑ์์มวลรวมประชาชาติ (GDP) เป็นตัวชี้วัดการพัฒนา อีกทั้งรัฐบาลยังมี
นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจและเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้มิติของการพัฒนาทางสังคม
ลดบทบาทลง
ในส่วนของสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดมากขึ้น เนื่องจาก
การแสดงออกทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและ
การลงทุน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างกำไรให้กับภาคธุรกิจเอกชน ระบบทุนนิยมเสรี
อุตสาหกรรมที่เข้ามาในสังคมไทย นำไปสู่การผูกขาดทางเศรษฐกิจ การจัดทำโครงการ
ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน นายทุนและภาครัฐ การบุกรุกพื้นที่ป�า
เริ่มต้นจากการออกกฎหมายป�าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายอนุรักษ์พื้นที่ป�าซึ่งเป็นถิ่น
ที่อยู่ดั้งเดิมของชาวบ้าน อิทธิพลของกระแสทุนที่เข้ามาทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ
จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ โรงไฟื้ฟื้้า โครงสร้าง
พื้นฐาน ฯลฯ ตลอดจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบท ด้านหนึ่ง
อาจส่งผลในแง่ของการรวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐและอำนาจทุนที่แผ่ขยาย
อิทธิพลเข้าไปในชุมชน ก่อให้เกิดเป็นขบวนการการเมืองภาคพลเมืองขนาดย่อม
ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การรวมตัวในระดับที่ใหญ่ขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งชาวบ้านบางส่วน
ได้ถูกครอบงำโดยกลไกทุนและอำนาจรัฐที่ฉ้อฉลและกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
ทุนนิยมในที่สุด
ขณะที่ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้ยังอยู่ในมิติ
ของการจัดสรรอำนาจทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรม การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของคน
รุ่นใหม่ การขาดการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหา
123