Page 182 - kpiebook65057
P. 182
มีการใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้ รวมถึงการใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารกับมวลชน และ
นำเสนอข้อมูลข้อเรียกร้องสู่สาธารณะ การเปลี่ยนแปลงแนวทางในการขับเคลื่อน
การเมืองภาคพลเมืองยังมีผลกระทบต่อค่านิยมในการเลือกผู้แทนราษฎร โดย
ประชาชนได้หันมาเลือกผู้แทนจากนโยบายของพรรคมากกว่าเลือกที่ตัวบุคคล
ซึ่งแตกต่างจากค่านิยมในอดีตที่ประชาชนมีค่านิยมเลือกผู้แทนราษฎรจากตัวบุคคล
มากกว่า
โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงรอยต่อของเหตุการณ์
พฤษภาทมิฬ 2535 ถึงการมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นบริบทที่การเมืองภาคพลเมือง
เติบโตขึ้นจากปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เป็น
ประชาธิปไตยมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ประชาชนมีความเข้มแข็งจากการจัดสรรอำนาจ
ทางการเมือง และการกระจายอำนาจให้กับประชาชนที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 รวมถึงการเติบโตขึ้นของพรรคการเมืองที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนนโยบาย
สาธารณะ การมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายและนโยบายของภาคประชาชน
ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในช่วง พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา
คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และโลกาภิวัตน์
โดยปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบต่อค่านิยมของคนในสังคม การดำเนินนโยบายและ
กฎหมายของภาครัฐ กระแสโลกาภิวัตน์ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้
ส่งผลให้การรับข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย การเปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชน
นำไปสู่การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐ เกิดการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองจาก
การเมืองเชิงผลประโยชน์ การซื้อเสียงมาสู่การเมืองในเชิงนโยบายมากขึ้น เนื่องจาก
กระแสการปฏิิรูปการเมืองทำให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐต้องปรับตัวเพื่อให้
ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากขึ้น ขณะที่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ พ.ศ. 2540
การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การปฏิิรูป
การเมืองโดยหลังจากมีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศไทย
ได้มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งที่เข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมนโยบาย
127