Page 186 - kpiebook65057
P. 186
ลักษณะของการเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้อาจทำการศึกษาผ่านการ
เคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กลุ่มคนเสื้อเหลือง) ที่มี
บทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี พ.ศ. 2548-2552 การเคลื่อนไหว
ของกลุ่มพันธมิตรเป็นกระแสการเมืองของฝ่ั�งอนุรักษ์นิยมที่ออกมาต่อต้าน
รัฐบาลทักษิณ จากปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระ ปัญหาผลประโยชน์ทันซ้อน
ของนักการเมือง ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายและปัญหาอื่นๆ การชุมนุมของ
กลุ่มพันธมิตรจึงมีเป้าหมายเพื่อขับไล่รัฐบาลทักษิณ และยุติปัญหาการทุรจิตและ
ผลประโยชน์ทับซ้อนของรัฐบาลทักษิณ
การทำรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 ในมุมมองของกลุ่มพันธมิตรมองว่า
เป็นวิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบายของรัฐบาลทักษิณ และเพื่อ
ที่จะสรรหารัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น อันเป็นวิธีการที่จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตาม
การรัฐประหารไม่สามารถยุติปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ยัง
เปิดโอกาสให้มีการเอื้อประโยชน์ให้ฝ่�ายการเมืองและกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง
ยังนำไปสู่การลดทอนอำนาจประชาชน และการเพิ่มอำนาจให้ชนชั้นนำและกลุ่มทุน
ขนาดใหญ่ ที่ส่งผลให้ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น การรัฐประหาร
จึงถูกใช้เป็นข้ออ้างในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของฝ่�ายอนุรักษ์นิยมแต่ใน
ที่สุดกลับเป็นการเปิดโอกาสและช่องทางเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ฝ่�ายชนชั้นนำ
กลับขึ้นมาแทรกแซงการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มตัวเองและพวกพ้องเหมือนกับ
ประสบการณ์ของการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในอดีต
บริบททางการเมืองในยุคนี้ จึงสะท้อนถึงความเข้าใจของประชาชน สะท้อน
ค่านิยมและทางเลือกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้งนำโดยกลุ่มพันธมิตรเห็นว่าการรัฐประหารเป็นทางออกใน
การคลี่คลายปัญหาทางการเมือง ปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษา
พัฒนาการการเมืองภาคพลเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้สะท้อนถึงบทเรียน
เกี่ยวกับผลกระทบจากการทำรัฐประหารได้ว่า ระบบอำนาจนิยมไม่สามารถดำรง
131