Page 191 - kpiebook65057
P. 191

1. ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าทำให้ประเด็นทางเศรษฐกิจ
             การเมือง สังคมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม อาทิ ปัญหาของระบบ
             การศึกษาในโรงเรียน ระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม กติกาและระบบ

             การเลือกตั้ง ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การละเมิดสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ การวิพากษ์
             วิจารณ์ดังกล่าวเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นพื้นฐานที่แสดงถึง

             สิทธิความเป็นพลเมือง คือ สิทธิที่พลเมืองต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองตาม
             ระบอบประชาธิปไตย


                     2. ความตื่นตัวของการเมืองภาคพลเมืองที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วม

             ในการตัดสินใจเชิงนโยบายซึ่งพบว่า ในปัจจุบันนโยบายต่างๆ ของรัฐที่ลงไป
             ในพื้นที่ต่างๆส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน ทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้กับนโยบายของรัฐ
             เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องของปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตร กระทั่งนำ

             ไปสู่นโยบายคัดค้านการนำเข้าสารเคมีและยกให้ประเด็นดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ
             การเข้าไปคัดค้านในเรื่องของการสร้างเขื่อนข้ามชาติระหว่างไทยกับลาว หรือเขื่อน

             ในประเทศจีนที่มีผลกระทบต่อการจัดการทรัพยากรบริเวณแม่น้ำโขง และการมี
             ส่วนร่วมในเรื่องปัญหาที่ดินทำกิน อันเป็นผลจากนโยบายทวงคืนผืนป�า หรือคำสั่ง
             64/2557 ของคสช.



                     3. ปัจจุบันการเมืองภาคพลเมืองมีความตื่นตัวสูงจนถึงระดับเข้าไป
             มีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบการทำงานของรัฐซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่
             สำคัญ เมื่อการเมืองภาคพลเมืองไม่นิ่งเฉย และต้องการเข้าไปตรวจสอบการทำงาน

             ของหน่วยงานรัฐหรือรัฐบาล เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาความเป็นพลเมือง
             ที่มีความตื่นตัวสูง การเข้าไปติดตามและประเมินผลการทำงานของหน่วยงานรัฐเพื่อ

             ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่
             ของประชาชน


                     โดยสรุปการเมืองภาคพลเมืองจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

             มีการเติบโตขึ้นสลับถอยหลังในบางช่วงเวลา ซึ่งมีผลมาจากปัจจัยทางด้านบริบท
             ทางเศรษฐกิจ  การเมืองและสังคม  จากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก



                                              136
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196