Page 187 - kpiebook65057
P. 187
อยู่ได้โดยตัวมันเองหากประชาชนไม่เข้ามาสนับสนุน ดังนั้นการที่ระบบอำนาจนิยม
ยังคงฝ่ังรากลึกและดำรงอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนานนั้นก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า
การมีค่านิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนนั้นมีส่วนอย่างมากต่อการส่งเสริม
การดำรงอยู่ของระบบเผด็จการอำนาจนิยม ซึ่งทำให้รัฐสามารถใช้กลไกรัฐ กลไก
เชิงสถาบันในการปราบปรามฝ่�ายที่เห็นต่างโดยมีฝ่�ายมวลชนที่เข้ามาสนับสนุน
เปิดพื้นที่ให้มีการทำรัฐประหารโดยกองทัพมีความชอบธรรม จนสามารถเข้ามา
แทรกแซงการเมืองเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ต่างจากความเข้าใจ
และค่านิยมในอดีตที่มองว่าการรัฐประหารเป็นการล้มล้างอำนาจอธิปไตยของ
ประชาชน ทำให้มีการต่อต้านการทำรัฐประหารอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน นิสิต
นักศึกษา ทั้งการรัฐประหารในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
การรัฐประหารของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ที่เข้ายึดอำนาจหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
การรัฐประหารของพลเอกสุจินดา พ.ศ. 2534 เป็นต้น ซึ่งผลของการรัฐประหาร
อาจจะไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง หรือมีผลที่ทำให้
การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ได้ทำให้การฉ้อฉลของ
นักการเมืองลดลง แต่ผลพวงของการรัฐประหารในครั้งนี้ได้ลดทอนอำนาจของ
ประชาชน มีการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ และมีการบังคับใช้กฎหมายห้ามมีการชุมนุม
การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรได้อาศัยความตื่นตัวของกระแสต่อต้านรัฐบาล
ทักษิณเพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองที่สนับสนุนการรัฐประหารเป็นการทำให้อำนาจ
ของกลุ่มชนชั้นนำเข้มแข็งขึ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทางการเมืองมาถึง
ปัจจุบัน
8) ยุคการเมืองของคนรุ่นใหม่ และการเฟื้้�องฟืู้ของเทคโนโลยีการสื่อสาร
พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
การเมืองภาคพลเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาเกิดความตื่นตัว
ทางการเมืองในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของการเมืองคน
รุ่นใหม่อาจเกิดจากความคับข้องใจเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรม ทั้งในการบังคับใช้
กฎหมาย รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กติกาการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสและเป็นธรรม ปัญหา
เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม การกำหนดนโยบายสาธารณะ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
132