Page 188 - kpiebook65057
P. 188
ทางเศรษฐกิจ การทำรัฐประหารนับตั้งแต่ พ.ศ. 2549 รวมถึงการรัฐประหารเมื่อ
พ.ศ. 2557 สภาพทางการเมืองทำให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ และ
ให้มีการจัดสรรอำนาจให้ประชาชนมากขึ้น ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิิรูป
สถาบันการเมือง ไปจนถึงการปฏิิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนผลกระทบจาก
การปกครองภายใต้รัฐบาลเผด็จการนำไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์
ทางการเมืองที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับระบอบเผด็จการอำนาจนิยม เช่น พรรคอนาคตใหม่
หรือพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
ที่มีอุดมการณ์คล้ายกัน
การเมืองภาคพลเมืองในปัจจุบันให้น้ำหนักไปที่การเมืองภาคประชาชน
(People’s politics) อันเป็นการที่ภาคประชาชนลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจรัฐ และมี
การเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งจากเดิมที่มีการชุมนุมเรียกร้องโดยกลุ่มขั้วตรงข้าม
ทางอุดมการณ์ เช่น การต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างกลุ่มคนเสื้อเหลืองกับ
กลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการเรียกร้องการเป็นประชาธิปไตย มาสู่การเมืองภาคพลเมือง
ที่มีรูปแบบการจัดตั้งภายใต้กลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีความต้องการที่หลากหลายกว่า
เช่น การขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเท่าเทียม มีข้อเรียกร้องที่ต้องการให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ ไม่เพียงเรียงร้องให้รัฐบาลลาออกหรือเพื่อขับไล่
รัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียกร้องไปถึงการจัดสรรอำนาจให้กับประชาชน
การยุติวงจรรัฐประหาร และการมีระบบการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม การแก้ไข
รัฐธรรมนูญโดยมีการเลือกตั้ง สรร. การปฏิิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมือง
เพื่อให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ลักษณะของการเมืองของคนรุ่นใหม่เป็นการเมืองที่ไม่ได้มีเป้าหมาย
ที่ชัดเจน แต่มีข้อเรียกร้องที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก
หากเป็นการชุมนุมในอดีตแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายค่อนข้างชัดเจน แต่ขาดความเป็น
เอกภาพ การเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมีความเป็นเอกภาพ
ภายใต้ความต้องการที่หลากหลาย เป็นการชุมนุมที่ไม่ยืดเยื้อแต่มีความฉับไวและ
คาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากใช้การนัดหมายผ่านสื่อออนไลน์ อาทิ เฟื้สบุ๊ค ทวิตเตอร์
133