Page 185 - kpiebook65057
P. 185

ปัญหาความขัดแย้งในระดับชาติยังส่งผลต่อการเคลื่อนไหวการเมือง
             ภาคพลเมือง ความขัดแย้งและความแตกแยกของกลุ่มต่าง ๆ ทำให้การรวมกลุ่มกัน
             เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่

             เหมือนก่อนหน้านี้ นอกจากนี้บรรดาแกนนำที่เคยมีบทบาทในการนำการเมือง
             ภาคประชาชนตัดสินใจที่จะเข้าสู่ระบบการเมืองและหันไปสนับสนุนอำนาจรัฐมากขึ้น

             ความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกแยกของคนในสังคมมีความรุนแรงอย่างมาก
             เกิดการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ระหว่างประชาชนที่สนับสนุน
             การรัฐประหารและประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของกองทัพ



                     ปัจจัยที่มีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองยุคนี้คือ ปัจจัยด้านการจัดสรรอำนาจ
             ที่ไม่เป็นธรรม ช่องว่างระหว่างวัย (generation gap) ปัญหาการรับรองสิทธิเสรีภาพ
             ปัญหาประสิทธิภาพทางการเมือง ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหานโยบายและ

             การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้ถูกกดทับโดยกรอบ
             รัฐธรรมนูญที่ให้มีการรวมศูนย์อำนาจมากขึ้น แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540

             ที่ให้มีการกระจายอำนาจลงไปสู่ชุมชนท้องถิ่น ลักษณะโครงสร้างในการจัดสรรอำนาจ
             ทางการเมืองเป็นการผูกขาดอำนาจไว้ที่ส่วนกลางทำให้กลุ่มข้าราชการ ชนชั้นนำ
             กลุ่มทุนธุรกิจขนาดใหญ่ ได้รับประโยชน์อย่างมากจากโครงสร้างทางการเมืองและ

             เศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ (centralization) ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพิ่มขึ้น
             อีกทั้งนโยบายและกฎหมายได้เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มอำมาตย์และข้าราชการ

             ให้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหา
             ความขัดแย้งระดับชาติ ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มทุน และ
             ภาคประชาชน ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายการเลือกปฏิิบัติ

             เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ช่องว่างระหว่างวัย คือคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่มีแนวโน้ม
             ที่จะปะทะกันในเชิงความคิดมากขึ้น  ทำให้การเมืองภาคพลเมืองเข้าสู่วังวน

             ความขัดแย้ง และนำสังคมเข้าสู่บริบทที่มีการบ่มเพาะค่านิยมของประชาชน
             ที่ไม่สนับสนุนประชาธิปไตย  อันนำมาสู่กระแสการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
             ทางการเมืองในปัจจุบัน







                                              130
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190