Page 177 - kpiebook65057
P. 177

การเมืองภาคพลเมืองยุคนี้มีความเป็นเอกภาพ มีความเข้มแข็ง และ
             ข้อเรียกร้องแต่ละด้านเป็นที่ยอมรับของสังคม อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของพลัง
             ประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ คือ เหตุการณ์

             พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535  ที่ภาคประชาชนรวมตัวกันชุมนุมขับไล่รัฐบาลเผด็จการ
             พลเอก สุจินดา คราประยูร และเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเรียกร้องให้เกิดการปฏิิรูป

             การเมืองและนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ได้สำเร็จ


                     อย่างไรก็ตามการเติบโตของการเมืองภาคประชาชนทำให้รัฐพยายาม
             ทำการสลายการชุมนุมด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การใช้ความรุนแรง การสร้างข่าวปลอม

             (fake news) การบิดเบือนข้อมูล ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ
             ในที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความแตกแยกและลดความชอบธรรม
             ของขบวนการการเมืองภาคพลเมือง ตลอดจนบทบาทของแกนนำ ถึงแม้การเมือง

             ภาคประชาชนในยุคนี้จะถูกโจมตีจากฝ่�ายรัฐ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสลายตัว
             ไปบ่อยครั้ง แต่การก่อตัวของขบวนการต่าง ๆ นำไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิิรูปการเมือง

             และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในปี  2540  ซึ่งผลจากการต่อสู้ของ
             ขบวนการต่างๆ ทำให้นโยบายด้านการพัฒนามีข้อจำกัดและมีเงื่อนไขที่นำไปสู่
             การทบทวนนโยบายของผู้มีอำนาจ หรือยิ่งไปกว่านั้นคือการเรียกร้องของประชาชน

             สามารถมีผลต่อการยกเลิกนโยบายบางส่วนได้


                     ปัจจัยที่มีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองยุคนี้ มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัย
             ภายใน ในส่วนของปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัย ด้านระบบเศรษฐกิจทุนนิยม กล่าวคือ

             สภาวะเศรษฐกิจได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่าระเบียบ
             เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า เศรษฐกิจแบบผูกขาด หรือกลไกตลาดเสรี ที่เกิด

             การทำให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นของเอกชน (privatization) การลดกฎเกณฑ์์
             และมาตรการทางธุรกิจ (deregulation) การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
             (stabilization) นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ

             ฝ่รั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ หันมาส่งเสริมกลไกตลาดเสรีมากขึ้น ความเข้มข้น
             ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น





                                              122
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182