Page 172 - kpiebook65057
P. 172
ประเทศให้เป็นประชาธิปไตย แต่การต่อสู้ในยุคทดลองประชาธิปไตยนั้นเกิดขึ้น
ได้เพียง 3 ปี และสิ้นสุดลงหลังจากที่รัฐใช้ความรุนแรงปราบปรามนิสิตนักศึกษาใน
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
เหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ความรุนแรงในการปราบปราม
นักศึกษา และรัฐทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไร้ความปราณี มีการปราบปราม
และจับกุมผู้ประท้วงซึ่งส่วนมากเป็นนักศึกษาที่เข้าร่วมชุมนุม หลังเหตุการณ์สลาย
การชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่งผลให้การเมืองภาคพลเมืองเริ่มซบเซา
และถดถอยลงต่อเนื่อง
จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เกิดจากการกลับเข้าประเทศของ จอมพล ประภาส
และจอมพลถนอม แต่การหนีเข้าประเทศของจอมพลประภาสไม่สำเร็จเนื่องจาก
ถูกขัดขวางจากนักศึกษาและประชาชน กระทั่งจอมพลถนอมซึ่งขณะนั้นบวช
อยู่ที่สิงคโปร์ได้เข้ามาในประเทศ นำมาสู่การประท้วงของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา
แห่งประเทศไทยและประชาชน การประท้วงเกิดขึ้นบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งมีการทำกิจกรรมทางการเมือง และการแสดงละครล้อการเมือง การแขวนคอ
ที่ลานโพธิ์ เพื่อล้อเลียนทางการเมืองอันเกิดจากการแสดงให้เห็นถึงความไม่ศักดิ์สิทธิ์
หรือไม่มีขื่อมีแปของกฎหมาย ก่อนหน้านั้นมีผู้ถูกจับต้องสงสัยว่ามีการทำผิด
กฎหมายจึงถูกนำไปแขวนคอที่นครปฐม ขณะที่วิทยุยานเกราะได้รายงานเหตุการณ์
การแสดงละครล้อการเมืองและแสดงให้เห็นถึงความอุกอาจของศูนย์กลางนิสิต
นักศึกษาแห่งประเทศไทยที่ถูกปลุกเร้า นำไปสู่ความเกลียดชังอย่างรุนแรง กระทั่ง
วันที่ 6 ตุลา 2519 มีการปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมีการต่อสู้ด้วยอาวุธป้น
ทหาร ตำรวจใช้วิธีการทารุณต่อผู้ชุมนุม มีการแขวนคอ การเผายางรถยนต์ การใช้
อาวุธยิง ในเย็นวันที่ 6 ทหารเข้าทำการยึดอำนาจโดยหัวหน้าคณะปฏิิรูปการปกครอง
แผ่นดินพลเอกสงัด ชลออยู่ มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 การยกเลิกรัฐสภา
และยกเลิกพรรคการเมือง ฯลฯ
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 มีการตั้งนายกรัฐมนตรีพลเรือนขึ้นมา
บริหารประเทศ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นรับตำแหน่งดังกล่าว รัฐบาลธานินทร์มีนโยบาย
117