Page 168 - kpiebook65057
P. 168
3) ยุคเรียกร้องประชาธิปไตย พ.ศ. 2516 - 2519
ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ขบวนการกรรมกร ชาวนาชาวไร่ และประชาชน ไม่พอใจต่อการปกครองภายใต้
ระบอบเผด็จการที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การรัฐประหารของ
จอมพล ป. เมื่อ พ.ศ. 2490 การรัฐประหารของ จอมพล สฤษดิ์ พ.ศ. 2500 และ
พ.ศ. 2501 และการรัฐประหารของ จอมพล ถนอม พ.ศ. 2514 ส่งผลให้กลไก
ของรัฐสภาและสถาบันประชาธิปไตยไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปากเสียงของประชาชน
ภายใต้รัฐบาลเผด็จการได้ใช้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ส่งผลให้
ประชาธิปไตยไทยอยู่ในยุคถดถอย
ภายใต้การปกครองของ จอมพล สฤษดิ์ รัฐบาลใช้อำนาจกีดกันการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ใช้ระบบราชการเป็นกลไกในการแยกประชาชนออกจากรัฐ ตลอดจน
มีนโยบายรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง มีการคุกคามเสรีภาพในการนำเสนอข่าว
ของสื่อ ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในช่วงนั้นกลุ่มทุนมีการกดขี่ขูดรีดค่าจ้าง
แรงงานของกรรมกร และไม่มีกฎหมายหรือสวัสดิการการทำงานให้กับแรงงาน ปัญหา
การกดขี่ขูดรีดชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความไม่พอใจของฝ่�ายกรรมกรมากขึ้น ขณะที่
ฝ่�ายรัฐก็ใช้อำนาจทางการเมืองในการจับกุม ดำเนินคดี และประหารชีวิต
ฝ่�ายประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างไร้ความปราณี
ในด้านเศรษฐกิจถึงแม้รัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ มีนโยบายในการส่งเสริม
และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยการส่งเสริมนโยบายการลงทุน ในพ.ศ. 2505
โดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ�น ในช่วงนั้นสินค้าญี่ปุ�นได้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศจำนวน
มาก เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ�นมีนโยบายขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของสินค้าญี่ปุ�นได้เกิดกระแสความไม่พอใจต่ออิทธิพลทาง
เศรษฐกิจของญี่ปุ�นที่แผ่ขยายเข้ามาในสังคมไทยจนก่อให้เกิดปัญหาขาดดุลการค้า
เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี จนทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ มีการนำเสนอประเด็น
ปัญหาการขาดดุลกับญี่ปุ�นผ่านงานเขียนในทางวิชาการ บทความในหนังสือพิมพ์
113