Page 165 - kpiebook65057
P. 165
2) ยุคการปกครองของระบอบเผด็จการ พ.ศ. 2500 - 2516
การยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2500 ทำให้รัฐบาลแบบ
ประชาธิปไตยยุติลง ความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างกลุ่มภายในพรรคการเมืองและ
ภายในกองทัพนำมาสู่การยึดอำนาจอีกครั้งใน พ.ศ. 2501 มีผลให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495
ถูกยกเลิก สาเหตุของการรัฐประหารเกิดจาก ความไม่พอใจต่อระบบการเมือง
แบบประชาธิปไตยตะวันตก ฐานะทางการคลังของรัฐบาล และภัยคอมมิวนิสต์ ซึ่ง
จอมพล สฤษดิ์ มองว่าเป็นภัยความมั่นคงต่อชาติ และเป็นข้ออ้างในการถูกใช้
เป็นเครื่องมือในการปราบปรามนักการเมือง ปัญญาชน และประชาชนฝ่�ายตรงข้าม
รวมถึงปัญหาการอพยพสู่เมืองหลวงของคนในชนบทเนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถ
แก้ปัญหาภาวะฝ่นแล้งและปัญหาทางสังคมได้ (ลิขิต ธีรเวคิน, 2554)
หลังการยึดอำนาจ พ.ศ. 2501 ประเทศไทยถูกปกครองภายใต้ระบบ
พ่อขุนอุปถัมภ์ ในยุค จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมี จอมพล ถนอม กิตติขจร และ
4
จอมพล ประภาส จารุเสถียร เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ซึ่งมีการปกครองอยู่เป็นเวลา
15 ปี (พ.ศ. 2501-2516) ก่อนจะถูกล้มโดยการลุกฮือซึ่งนำโดยนักศึกษา เมื่อวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่เรียกว่า “การปฏิิวัติเดือนตุลา” (เสน่ห์ จามริก, 2517 อ้างใน
ลิขิต ธีรเวคิน, 2554) ลักษณะของระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ เป็นการดูแลให้ความช่วยเหลือ
ประชาชน ดูแลด้านค่าครองชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อย การทำให้ประเทศ
มีความทันสมัย การจัดการกับอันธพาล เพื่อรักษาความผาสุขของประชาชน
4 การปกครองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์ หมายถึง การปกครองที่ผู้นำสามารถสร้างความนับถือ
เกรงกลัวในหมู่ผู้นำทางการเมือง เป็นลักษณะของผู้นำที่ใช้อำนาจเพื่อควบคุมอำนาจ
ทางการเมือง นอกจากอำนาจทางการเมืองแล้วภายใต้การปกครองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์ยังต้องมี
อำนาจทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องมีการสนับสนุนจากผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ เช่น มีการให้ตำแหน่ง
และรางวัลเป็นเงินตราและสิ่งของเป็นครั้งคราว ดังนั้นการมีฐานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
จึงเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำทางการเมืองไทย (ลิขิต ธีระเวคิน, 2554)
110