Page 160 - kpiebook65057
P. 160

การยึดอำนาจของคณะราษฎรซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้นำคนหนึ่ง
               ในคณะปฏิิวัติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจ เกิดความ
               ขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ได้แก่ กลุ่มอำนาจราชวงศ์หรือกลุ่มเจ้านาย

               กลุ่มข้าราชการทั้งในระดับอาวุโส เสมอเท่ากัน และลำดับรองลงไป กลุ่มทหารในสาย
               และระดับต่างๆ กลุ่มพ่อค้า ชนชั้นกลาง กลุ่มอาชีพอิสระ และนักหนังสือพิมพ์

               ราษฎรชาวนาโดยทั่วไป (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2560)


                        หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าและคณะราษฎรได้ตกลง
               ประนีประนอมระหว่างกันแล้ว ได้ทรงลงพระปรมาภิไทยในพระราชบัญญัติธรรมนูญ

               การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีการแบ่งแยก
               อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนออกเป็น 4 ทางด้วยกัน คือ ฝ่�ายกษัตริย์
               ฝ่�ายสภา ฝ่�ายบริหารและตุลาการ ผู้นำของคณะราษฎรได้สถาปนาให้ฝ่�ายสภา

               มีอำนาจสูงสุดเป็นเสมือนผู้ควบคุมเจตนารมณ์ของการปฏิิวัติ อย่างไรก็ตามโครงสร้าง
               ทางการเมืองดังกล่าวได้ถูกระบุไว้เป็นการชั่วคราวทำให้ต้องมีการแก้ไขทบทวนและ

               ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เรื่องนี้ได้กลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองในช่วงกลาง
               พ.ศ. 2475 ซึ่งทำให้ผู้มีความรู้ด้านสาขาวิชากฎหมายมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก


                        ต่อมามีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 คนเมื่อวันที่ 28

               มิถุนายน 2475 เพื่อจัดประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะราษฎร
               และแนวทางในการปกครองในระบอบใหม่ ซึ่งมีการอาศัยการประนีประนอมกับ
               ฝ่�ายราชวงศ์และกลุ่มอำนาจเก่า (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2560) การเปลี่ยนแปลง

               ในครั้งนี้จึงถูกเรียกว่า “การปฏิิวัติที่ไม่นองเลือด” คณะราษฎรได้ทำหน้าที่ในบทบาท
               ของ “ผู้ก่อการ” ให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ

















                                                 105
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165