Page 162 - kpiebook65057
P. 162
ผลกระทบทางการเมืองของการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้อำนาจ
บริหารเปลี่ยนจากกษัตริย์นำไปสู่กลุ่มข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตยได้กลายเป็นระบอบอำมาตยาธิปไตย
บรรยากาศทางการเมืองราษฎรเริ่มมีการพูดถึงรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง
การตรากฎหมายต่างๆ รวมถึงแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ในหมู่ประชาชนมากขึ้น อย่างไรก็ดีบรรยากาศทางการเมืองการแย่งชิงอาจระหว่าง
กลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ยังคุกรุ่นนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในหลายครั้ง
ขณะเดียวกันภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม อาทิ การยกเลิกระบบขุนนางแบบศักดินา การจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดมากขึ้นแต่การเปลี่ยนแปลง
ยังอยู่ในวงจำกัด อีกทั้งภายในคณะราษฎรยังเกิดความขัดแย้งในหมู่พวกเดียวกัน
ทำให้การปฏิิวัติ 2475 ถูกมองว่าเป็นเพียงการทำรัฐประหารยึดอำนาจมากกว่า
การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง (ลิขิต ธีรเวคิน, 2554)
ในส่วนของการเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้ประชาชนยังมีฐานะเป็นเพียง
ราษฎรที่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงเล็กน้อยและเป็นการมีส่วนร่วมในการ
ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจำนวนประชาชนที่ไปใช้สิทธิในช่วงนั้นยังมีจำนวน
ไม่มากนัก เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยเพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้นในประเทศได้ไม่นาน
ราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในหลักการประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง
หรือการเมืองภาคพลเมืองจึงยังคงไม่เติบโตมากนัก ประชาชนที่เป็นราษฎร
ยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางนโยบาย ความรู้ความเข้าใจ
เรื่องระบอบการเมือง ระบบการเลือกตั้ง การรวมกลุ่ม สิทธิเสรีภาพ ยังเป็น
เรื่องที่ไม่แพร่หลาย เทคโนโลยีการสื่อสารยังไม่พัฒนารุดหน้าเหมือนยุคปัจจุบัน
การตรวจสอบถ่วงดุลก็เกิดขึ้นไม่มากนัก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ราษฎรอยู่ในการปกครอง
โดยระบอบอำมาตยาธิปไตย อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่เกิดการแยกรัฐกับประชาชน
ออกจากกันอย่างชัดเจน
107