Page 163 - kpiebook65057
P. 163
โดยสรุปยุคครอบงำโดยอำมาตยาธิปไตย เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองไทยครั้งสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะราษฎร
ได้แลเห็นอนาคตของสยามในสองรูปลักษณะ คือ ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ
กับ ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการมีสภาและประมุขของประเทศเป็นบุคคล
ธรรมดา (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2560) สถานการณ์บ้านเมืองหลังการอภิวัฒน์สยาม
แม้จะมีความพยายามในการปรับปรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรด้วยการ
วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีความพยายามที่จะปรับปรุงระบบ
ภาษีและการปฏิิรูปที่ดิน แต่ก็เกิดกระแสคัดค้านจากกลุ่มชนชั้นนำ นอกจากนี้
ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ มีการคานอำนาจระหว่าง
กลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง อาทิ
การรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองและขัดขวาง
การพัฒนาประชาธิปไตยและนำไปสู่จุดจบของพลังประชาธิปไตยที่กำลังเติบโต และ
การยุติบทบาทของคณะราษฎร หลังการรัฐประหารดังกล่าวการปกครองภายใต้
ระบอบประชาธิปไตยประสบปัญหา จากการเข้ามาแทรกแซงการเมืองของฝ่�ายทหาร
มีการทำรัฐประหาร การยกเลิกรัฐธรรมนูญ นำประเทศเข้าสู่การปกครองภายใต้
ระบอบเผด็จการอำนาจนิยมที่ผู้นำอาศัยการรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง ใช้อำนาจ
ที่ขัดต่อหลักกฎหมาย เช่น การปราบปรามฝ่�ายที่เห็นต่างทางการเมือง การใช้กฎหมาย
ดำเนินคดีจับกุมฝ่�ายที่ต่อต้านรัฐ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มข้าราชการ ขุนนาง ชนชั้นนำ
ปัญหาการฉ้อฉลเชิงนโยบายและการบริหารประเทศ กลายเป็นจุดเริ่มต้นและชนวน
ที่นำมาสู่ความไม่พอใจของกลุ่มการเมืองที่เสียผลประโยชน์
ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 สังคมไทยก้าวเข้าสู่การปกครอง
แบบเผด็จการอำนาจนิยม สภาพการเมืองอยู่ภายใต้การปกครองโดยทหารและ
กองทัพ โดยหลังจากจอมพล ป. พิบูลสงครามทำการยึดอำนาจทำให้ฝ่�ายเสรีนิยม
สูญเสียเสถียรภาพทางการเมือง นายปรีดีถูกสงสัยว่าพัวพันกับกรณีปลงพระชนม์
รัชกาลที่ 8 ทำให้ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ จากนั้นมีการรัฐประหารอีกครั้ง
ใน พ.ศ. 2494 รัฐบาลเข้าทำการควบคุมหนังสือพิมพ์ การรายงานข่าว จำกัดเสรีภาพ
108