Page 164 - kpiebook65057
P. 164

ของสื่อ ทหารได้เข้ามายึดครองอำนาจทางการเมืองอย่างแข็งแกร่งและใช้อำนาจ
               ไปละเมิดสิทธิ  เสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง  สังคมไทยอยู่ภายใต้
               การปกครองที่รัฐใช้อำนาจกดขี่ประชาชนผ่านสถาบันทหารและตำรวจ มีการห้าม

               ตั้งพรรคการเมือง นับตั้งแต่นั้นประเทศไทยก็อยู่ในวังวนของการปกครองระบอบ
               เผด็จการและการทำรัฐประหาร  มีการออกกฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติ

               การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม เพื่อ
               ใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามฝ่�ายที่สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ และมีการแก้ไข
               กฎหมายนี้หลายครั้ง รัฐบาลให้อำนาจตำรวจ ทหาร สามารถจับกุม ปราบปราม

               กักขังผู้ที่สงสัยว่าสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาหรือผ่าน
               กระบวนการยุติธรรม


                        ช่วง 25 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2500  ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ

               6 ฉบับ มีการเลือกตั้ง 9 ครั้ง และมีรัฐประหารและกบฏิ 10 ครั้ง (ลิขิต ธีรเวคิน,
               2554) การต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ กษัตริย์ขุนนาง ข้าราชการ

               ที่มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง (ณรงค์ พ่วงพิศ, 2522 อ้างในลิขิต ธีรเวคิน, 2554)
               การขัดแย้งกันทางอำนาจ  การขัดแย้งกันทางนโยบาย  ความขัดแย้งระหว่าง
               กลุ่มอำนาจใหม่กับกลุ่มอำนาจเก่า ความขัดแย้งระหว่างทหารด้วยกัน เป็นชนวน

               ของการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในหลายครั้งในการเมืองไทย


                        นอกจากนี้ลักษณะการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยในยุคนี้
               แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสถาบันแบบดั้งเดมที่ระบบราชการ

               มีความเข้มแข็ง แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงสังคมสยามไปสู่การเป็นประชาธิปไตย
               ของคณะราษฎรยังถูกขัดขวางด้วยวัฒนธรรมและค่านิยมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม

               (ลิขิต ธีรเวคิน, 2554) ที่เป็นกระแสต่อต้านและแรงเสียดทานที่นำพาสังคมกลับ
               เข้าสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตยส่งผลให้การเมืองไทยไม่ปลอดจากการแทรกแซง
               ของข้าราชการ โดยเฉพาะสายทหาร กองทัพ ชนชั้นนำ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรม

               การเมืองแบบอำนาจนิยมที่เข้มแข็งขึ้นในขณะที่การทำหน้าที่ของสถาบัน
               ประชาธิปไตยอ่อนแอลง





                                                 109
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169