Page 169 - kpiebook65057
P. 169
โดยนักวิชาการเป็นจำนวนมากผลที่เกิดขึ้นคือทำให้นิสิตนักศึกษามีแนวคิดชาตินิยม
มากขึ้น (อัจฉราพร แสนอาทิตย์, 2556) ความไม่พอใจต่อปัญหาเศรษฐกิจทวี
รุนแรงมากขึ้น กระทั่งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) เป็นแกนนำ
ในการออกมาเดินขบวนรณรงค์ให้ใช้สินค้าไทยแทนสินค้าญี่ปุ�น การรณรงค์ต่อต้าน
สินค้าญี่ปุ�นของนักศึกษาได้สะท้อนให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจของรัฐบาล ผนวกกับปัญหาทางการเมือง การคอร์รัปชัน และการเอื้อ
ประโยชน์ให้กับกลุ่มพวกพ้องทางการเมืองและกลุ่มธุรกิจ ทำให้กระแสความไม่พอใจ
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ภายหลังจากการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ได้มีการสืบทอดอำนาจ
ทางการเมืองโดยจอมพลถนอม กิติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ระบบพ่อขุน
อุปถัมภ์ได้ทำให้ระบบอุปถัมภ์เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้ให้การอุปถัมภ์
นายทหารชั้นผู้น้อย นักการเมือง และนักธุรกิจ ซึ่งผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ก็จะให้การ
สนับสนุนตอบแทน เช่น การตอบแทนในรูปแบบของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
การหลบเลี่ยงกฎหมาย ความคุ้มกันทางการเมือง เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน
และกันระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ แต่ความขัดแย้งของฝ่�ายอำนาจ
ทางการเมืองกำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้น หลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่าง
เกือบ 10 ปี ทำให้ในปี พ.ศ. 2512 มีการเลือกตั้ง แต่ผลการเลือกตั้งปรากฎออก
มาทำให้ จอมพล ถนอมได้เป็นนายกรัฐมนตรีแม้ว่าจะไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ได้นำมาสู่ การรัฐประหารตัวเอง
ของจอมพลถนอม กิติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ 2514 เพื่อรักษาอำนาจ
ทางการเมือง อย่างไรก็ตามปัญหาที่สั่งสมมาทั้งความพยายามสืบทอดอำนาจ
เผด็จการ การแก้ปัญหาที่ล้มเหลวทั้งปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ การปกครอง
ในระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์ และการทำลายสถาบันและกลไกทางประชาธิปไตย
ทำให้ความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น
นอกจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองยังตามมาด้วยปัญหาการ
ขาดแคลนข้าวสาร น้ำตาลทราย อันเกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลและ
การฉ้อราษฎร์บังหลวง การปกครองของรัฐบาลไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
114