Page 171 - kpiebook65057
P. 171
ในด้านของการเมืองภาคพลเมืองผลของการต่อสู้เพื่อเรียกร้อง
ประชาธิปไตย และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้เกิดการตื่นตัวทางการเมือง
ของภาคประชาชน และกระแสประชาธิปไตยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในสังคมไทย
และเป็นครั้งแรกที่ฝ่�ายประชาชนสามารถต่อสู้กับระบอบเผด็จการจนชนะ อันเป็น
ผลมาจากกระแสความไม่พอใจของกลุ่มต่างๆ ที่สั่งสมมาหลายปี มีการจัดตั้ง
ขบวนการกรรมกรชาวนาชาวไร่ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ซึ่งทำให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทางการเมืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การลุกฮือของนิสิต
นักศึกษานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยก่อให้เกิด “ยุคทดลองประชาธิปไตย” เกิดบรรยากาศทางการเมือง
ที่แตกต่างจากภาพในอดีตที่ใช้การปกครองแบบระบบอุปถัมภ์
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง การส่งเสริมสิทธิทางการมือง ซึ่งทำให้ประชาชน
มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ในทางกลับกันอำนาจทางการเมืองของฝ่�ายชนชั้นนำ
นายทหาร ตำรวจ และกลุ่มข้าราชการลดลง ขณะที่ยุคนี้ขบวนการแรงงานมีความเข้มแข็ง
มีการนัดหยุดงานประท้วงเกี่ยวกับค่าแรงและการประท้วงของขบวนการแรงงาน
สามารถทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างมากขึ้น ภายในระยะเวลา 3 ปี
แรงงานที่ทำงานในโรงงานต่างๆ จำนวนหลายร้อยโรงงานทำการนัดหยุดงานกว่า
1000 ครั้ง (วิกิพีเดีย, 2564) และเรียกร้องให้นายจ้างปรับปรุงสวัสดิการแรงงานให้ดีขึ้น
ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา นำไปสู่การทำลายกลุ่มอุปถัมภ์ที่ผูกขาดอำนาจมานาน
และมีท่าทีที่จะสืบทอดอำนาจต่อไป ตำรวจทหารเสียความน่าเชื่อถือ ขณะที่
นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ประชาชน มีการแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น
(ลิขิต ธีรเวคิน, 2554)
4) ยุคถดถอยของการเมืองภาคพลเมือง พ.ศ. 2519 – 2529
การเมืองภาคพลเมืองที่เติบโตขึ้นจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นับว่าเป็น
ชัยชนะของขบวนการนิสิตนักศึกษาที่สามารถโค่นล้มระบอบเผด็จการและขับเคลื่อน
116