Page 176 - kpiebook65057
P. 176
ในพื้นที่ที่มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม หรือการสร้างฐานการผลิตสินค้าของบรรษัท
ข้ามชาติ
ผลกระทบจากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม
การสร้างระบบคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปราศจากการรับฟื้ังความคิดเห็นและ
การมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้นโยบายส่วนใหญ่ของภาครัฐเป็นการมุ่งส่งเสริม
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กลุ่มทุนและภาคธุรกิจขาดมาตรการรองรับผลกระทบต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นต่อชาวบ้านและประชาชนในพื้นที่จึงมีการรวมตัวกันของชาวบ้านเพื่อต่อ
ต้านนโยบายและกฎหมายของรัฐที่มีปัญหา รวมถึงการต่อต้านโครงการขนาดใหญ่
ที่เข้าไปสร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน
ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศนโยบาย 66/23
เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าไปต่อสู้ในป�าสามารถออกมาจากป�า แต่ในความเป็นจริงแล้ว
แม้ไม่มีประกาศ 66/23 นักศึกษาก็มีแนวคิดที่จะกลับเข้ามาในเมืองอยู่แล้ว และ
บางส่วนได้เข้าไปมีบทบาทในการเรียกร้องความเป็นธรรมร่วมกับชาวบ้าน รวมถึง
นักศึกษาจำนวนหนึ่งได้หันมาทำงานด้านสังคมมากขึ้น ทำให้ยุคนี้เกิดการเติบโต
ของกลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มที่ขับเคลื่อนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีบทบาทในการนำ
ชาวบ้าน นักศึกษาหลายคนกลายเป็นนักเคลื่อนไหว และนักกิจกรรม หรือบางส่วน
หันไปทำงานด้านวิชาการ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ บางส่วนไปมีส่วนร่วมกับการต่อสู้
กับอำนาจรัฐ จึงนับว่าการเมืองภาคพลเมืองเริ่มฟื้้�นกลับมาหลังจากซบเซาลง
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519ผู้คนมีความกล้าที่จะต่อรองกับรัฐมากขึ้น โดยจะเห็นได้จาก
การรวมตัวของสมัชชาคนจน ที่ชาวบ้านตระหนักถึงอำนาจของตนเอง การเรียนรู้
ในการใช้อำนาจต่อรองกับอำนาจรัฐ มีการรวมตัวกันของกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับความ
เดือดร้อนอันนำไปสู่การชุมนุม การเดินขบวนประท้วง ตั้งแต่ช่วงการก่อตั้งสมัชชา
เกษตรกรรายย่อยภาคอีสานที่มีการเดินขบวนเข้าไปชุมนุมในกรุงเทพ การรวมตัวกัน
ของกลุ่มสมัชชาคนจน มีการขับเคลื่อนเพื่อนำข้อเรียกร้องไปเสนอต่อรัฐบาล เช่น
ข้อเสนอแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือมีการนำข้อเสนอเรื่องการจัดการปฏิิรูปที่ดิน
การยกเลิกโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน การยกเลิกโรงงานถ่านหิน ท่อส่งก๊าซ กรณี
แก่งเสือเต้น และอื่น ๆ
121