Page 161 - kpiebook65057
P. 161

นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำฝ่�ายพลเรือนในคณะราษฎรได้จัดทำสมุดปกเหลือง
             หรือเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี  ขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 เพื่อแก้ปัญหา
                                        3
             ด้านสังคม เศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของโลก พ.ศ. 2472 ที่ส่ง

             ผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายใน การกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจได้รับอิทธิพล
             จากแนวคิดสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์

             ของราษฎร และการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า มีการจัดเก็บภาษีเพื่อแก้ไข
             ปัญหาสถานะทางการคลัง มีการลดภาษีที่ดินสำหรับปลูกข้าว และการยกเลิก
             การเก็บภาษีอากรบางประเภท ปรับปรุงภาษีอากรธนาคาร ออกประกาศลดพิกัด

             เก็บเงินค่านาและลดภาษีโรงเรือนที่ดิน เพื่อลดแรงกดดันในหมู่ประชาชนต่อภาระ
             ทางภาษี อย่างไรก็ตามในด้านการปฏิิรูปที่ดินรัฐบาลยังไม่สามารถทำได้เพราะ

             ถูกคัดค้านโดยกลุ่มเจ้านายที่ถือครองที่ดินจำนวนมาก และกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิด
             อนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจ (ไมตรี เด่นอุดม, 2560)


                     สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การอภิวัฒน์สยามของคณะราษฎร เกิดจากบริบท

             ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจโลก ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงใน พ.ศ. 2472
             (The Great Depression) ที่นำไปสู่ปัญหาข้าวยากหมากแพง และปัญหาเศรษฐกิจ
             จากภายในที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

             นอกจากนี้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ ความขัดแย้ง
             ทางความคิดของกลุ่มข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นคนุรุ่นใหม่กับ

             ผู้นำทางการเมืองที่มีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม การปฏิิวัติสยามจึงมีสาเหตุมาจาก
             หลายตัวแปรภายใต้บริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมทั้งภายในและต่างประเทศ
             (ลิขิต ธีรเวคิน, 2554)








             3 คณะราษฎร ได้ออกแถลงการณ์หลักสำคัญในการปกครองประเทศ โดยมีใจความว่า “การบำรุง
             ความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะ
             วางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก” (ไมตรี เด่นอุดม, 2553)





                                              106
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166