Page 27 - kpiebook65055
P. 27
27
ในกฎหมายสูงสุด หรือหากไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็อาจเป็นการรับรองในกฎหมายล�าดับรอง ซึ่งไม่ว่าจะอยู่
ในระดับใดก็ย่อมสร้างหน้าที่ให้กับรัฐในการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญบางประการว่า การรับรองสิทธิดังกล่าวนั้นมีความแตกต่าง
หลากหลายออกไป ขึ้นอยู่กับว่าประเทศดังกล่าวให้ความส�าคัญกับเรื่องใดหรือมีแนวทาง (approach) อย่างไร
กับปัญหาสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ หากให้ความส�าคัญกับมนุษย์เป็นหลัก หรือที่เรียกกันว่า anthropocentric
approach บทบัญญัติของกฎหมายมักปรากฏถึงการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้ปลอดพ้นจาก
สิ่งแวดล้อมที่เป็นโทษต่อเนื้อตัวร่างกาย เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศแอฟริกาใต้บัญญัติว่า “Everyone
51
has a righ to an environment that is not harmful to their health or well-being” ในขณะที่บางประเทศ
ได้ยกให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ลักษณะของการใช้ถ้อยค�าในกฎหมาย
ก็จะแตกต่างไปจากแนวคิดที่ต้องการคุ้มครองมนุษย์ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศการ์ตา ที่บัญญัติว่า
“The State shall preserve the environment and its natural balance in order to achieve
52
comprehensive and sustainable development for all generations”
การคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญในอากาศสะอาดนั้น จะปรากฏออกมาในรูปแบบของการที่
ศาลตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน คดีตัวอย่างที่โด่งดังที่สุด ได้แก่
คดี M C Mehta v Union of India ซึ่งเป็นคดีที่ศาลฎีกาของประเทศอินเดียตีความมาตรา 21 แห่ง
รัฐธรรมนูญอินเดียที่รับรอง the right to the protection of life and personal liberty เอาไว้ โดยศาล
ได้วินิจฉัยเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “Today everyone is concerned about level of pollution in Delhi and
[the National Capital Region]. This is not something new, every year this kind of piquant situation
arises for a substantial period. ... This is blatant and grave violation of right to life of the sizeable
population by all these actions and the scientific data which has been pointed out indicates that
life span of the people is being reduced by this kind of pollution which is being created and that
people are being advised not to come back to Delhi or to leave the Delhi due to severe pollution
condition which has been created. ... Time has come when we have to fix the accountability for
this kind of situation which has arisen and is destroying Right to Life itself in gross violation of
Article 21 of the Constitution of India” 53
นอกจากกฎหมายแล้ว ปัจจัยที่ท�าให้รัฐต้องก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศขึ้น อาจมาจาก
soft law เช่น เกณฑ์แนะน�าคุณภาพอากาศที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก หรือ UN AQS ที่มีอิทธิพล
ในการออกกฎหมายในหลายประเทศ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศคอสตาริกา เป็นต้น
51 Constitution of the Republic of South Africa No. 108 of 1996, 24, 152.
52 Qatar’s Constitution of 2003, art 33.
53 M. C. Mehta v Union of India, Writ Petition (Civil) No 13029/1985, Daily Order, 4 November 2019, paras 3-4.