Page 24 - kpiebook65055
P. 24

24      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             กับคุณภาพของอากาศ ได้แก่ แนวทางด้านคุณภาพอากาศที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก ที่ได้ตีพิมพ์

             ในรูปแบบของรายงานด้านเทคนิค (technical report) ที่ใช้ชื่อว่า “Air Pollution” มาตั้งแต่ ค.ศ. 1958
             จนกระทั่งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้พัฒนามาเป็นแนวทาง (guidelines) ที่แนะน�าให้รัฐต่างๆ

             น�าไปปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับผลร้ายทางด้านสุขภาพจากสารก่อมลพิษ ปัจจุบันแนวทาง
             ด้านมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปมีทั้งสิ้น 4 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ปี ค.ศ. 1987 , ฉบับที่ 2
                                                                                             40
             ปี ค.ศ. 2000  และ ฉบับที่ 3 ปี ค.ศ. 2005 ) โดยฉบับล่าสุดนั้นได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 2021 ใช้ชื่อ
                         41
                                                    42
             รายงานว่า “WHO global air quality guidelines: particulate matter ( PM and PM ) , ozone, nitrogen
                                                                            2.5       10
             dioxide, sulfur dioxide and carbon monoxide”  ส่วนมาตรฐานคุณภาพอากาศในอาคารนั้นก็ได้รับ
                                                         43
             การพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เพราะองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นความส�าคัญของคุณภาพ

             อากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ใช้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมไปถึง
             ความชื้นและเชื้อราที่อยู่ในอาคาร 44






             2.3 กฎหมายก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ


             อ้างอิงจากเกณฑ์ใด



                      ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า กฎหมายมักอ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศตามข้อแนะน�า

             ขององค์การอนามัยโลก ค�าถามคือ เหตุใดรัฐต้องน�ามาตรฐานคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก
             มาพิจารณา ต่อค�าถามนี้ เราควรต้องพิจารณาสถานะทางกฎหมาย (legal status) ของแนวทางหรือเกณฑ์

             แนะน�าคุณภาพอากาศที่ออกโดยองค์การอนามัยโลกเสียก่อน เพื่อวินิจฉัยว่ารัฐมีหน้าที่ในทางกฎหมาย
             หรือไม่ที่จะต้องน�าเกณฑ์ดังกล่าวนี้ไปบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน ในรายงานขององค์การอนามัยโลก

             ค.ศ. 2017 ระบุว่าเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานของรัฐที่มีอ�านาจสามารถ
             น�าไปใช้เพื่อก�าหนดเป็นมาตรฐานภายในประเทศได้ ทั้งนี้โดยค�านึงถึงเงื่อนไขในทางสังคมและเศรษฐกิจ



             40   WHO, Air quality guidelines for Europe (WHO 1987) available at https://extranet.who.int/iris/restricted/
             handle/10665/107364.
             41   WHO, Air Quality Guidelines For Europe (2nd edition) (WHO 2000) available at https://www.euro.who.int/__data/
             assets/pdf_file/0005/74732/E71922.pdf www.euro.who.int/en/publications/abstracts/air-quality- guidelines-for-
             europe.
             42   WHO, Air Quality Guidelines: Global Update 2005 – Particulate Matter, Ozone, Nitrogen Dioxide and Sulfur

             Dioxide (WHO 2005) available at https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0005/78638/E90038.pdf
             43   WHO, WHO Global Air Quality Guidelines: Particulate Matter ( PM And PM ) , Ozone, Nitrogen Dioxide, Sulfur
                                                                   2.5      10
             Dioxide and Carbon Monoxide (WHO 2021) available at https://www.who.int/publications/i/item/9789240034228
             44   WHO, WHO Guidelines for Indoor Air Quality (WHO 2010) available at https://www.euro.who.int/__data/
             assets/pdf_file/0009/128169/e94535.pdf
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29