Page 25 - kpiebook65055
P. 25

25







                  ของแต่ละประเทศที่ย่อมแตกต่างกันออกไป จึงกล่าวได้ว่า เกณฑ์แนะน�าขององค์การอนามัยโลกไม่มีผล

                  ผูกพันทางกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมาเกณฑ์ดังกล่าวนี้เริ่มก่อก�าลังทางกฎหมายมีอ�านาจ
                  บังคับหรือคุณค่าในเชิงบรรทัดฐาน เนื่องจากรัฐต่างๆ ได้น�าเกณฑ์ดังกล่าวมาเป็นจุดอ้างอิงของคุณภาพ

                  อากาศที่ดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายภายใน เช่น กฎหมายคุณภาพอากาศของประเทศติมอร์-เลสเต ระบุว่า
                  “until environmental quality standards have been established by domestic law, the standards

                  endorsed by the World Health Organization shall apply”  หรือบางประเทศมีคดีฟ้องร้องกันและอ้างอิง
                                                                    45
                  ถึงเกณฑ์ดังกล่าวในข้อต่อสู้ของฝ่ายในข้อพิพาท  นอกจากนั้น เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกยังสามารถ
                                                           46
                  พิจารณาได้จากแง่มุมในทางกฎหมายได้อีกด้วยในฐานะที่เป็นสิทธิทางกฎหมายของปัจเจกบุคคล ดังที่ได้
                  กล่าวไปในหัวข้อที่แล้วว่าผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติได้เสนอขั้นตอน 7 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ

                  การก�าหนดให้มีเกณฑ์คุณภาพอากาศในกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน และนโยบาย  ซึ่งนั่นหมายความว่า
                                                                                         47
                  มีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิในอากาศสะอาดกับหน้าที่ของรัฐในการสร้างกฎหมายเกี่ยวกับ

                  คุณภาพอากาศขึ้น ดังเช่นที่ศาลในสหภาพยุโรปเคยวินิจฉัยเรื่องสิทธิทางกฎหมายกับมาตรฐานคุณภาพ
                  อากาศในคดี Commission of the European Communities v Federal Republic of Germany เอาไว้ว่า

                  “whenever the exceeding of the limit values could endanger human health the persons concerned
                  must be in a position to rely on mandatory rules in order to be able to assert their rights” 48






                  2.4 แนวทางการก�ากับดูแลคุณภาพอากาศ


                  ของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร



                          กฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพอากาศได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับการน�าไปปรับในระบบ

                  กฎหมายต่างๆ ทั่วโลก ระบบกฎหมายที่แตกต่างกันออกไปย่อมมีผลต่อการรับรองสิทธิในอากาศสะอาด
                  และระบบในการก�ากับดูแลด้านคุณภาพอากาศ (air quality governance) ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นระบบ

                  ที่มีองค์การเหนือรัฐคอยก�ากับดูแลอยู่ การก�ากับดูแลก็จะมีระบบที่เข้มงวด เช่น กรณีของสหภาพยุโรป
                  ที่สามารถออกกฎเกณฑ์ด้านคุณภาพอากาศเป็นการเฉพาะและก�าหนดหน้าที่ให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตาม

                  การก�ากับดูแลก็จะมีความเข้มข้นมาก เนื่องจากมีองค์กรตุลาการคอยท�าหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับ
                  การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านคุณภาพอากาศ ซึ่งในกรณีของสหภาพยุโรป คือ ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป


                  45   Decree-Law No. 26/2012 establishing the Environmental Basic Legislation, art. 67

                  46   ดู Supreme Court of Chile, Fernando Dougnac Rodríguez & ors, 30 September 2015, 1.119-2015 อ้างใน
                  UNEP, Regulating Air Quality: The First Global Assessment of Air Pollution Legislation (UNEP 2021) 52.
                  47   HRC, Issue of Human Rights Obligations Relating to the Enjoyment of a Safe, Clean Healthy and Sustainable
                  Development (8 January 2019) UN Doc A/HRC/40/55 paras 66-78.
                  48   Case C-59/89 Commission of the European Communities v Federal Republic of Germany, para 19.
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30