Page 23 - kpiebook65055
P. 23

23







                  on Mercury)  ควบคุมการปล่อยเมอร์คิวรี่หรือปรอท อย่างไรก็ตาม ควรตั้งเป็นข้อสังเกตว่าในปัจจุบันนั้น
                             35
                  มีความตกลงระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปที่ประสบกับ
                  ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ที่รู้จักดี คือ ปัญหาฝนกรดที่ได้สร้างความเสียหาย

                  ไปทั่วยุโรป จนประเทศต่างๆ ได้ตกลงจัดท�าสนธิสัญญาฉบับหนึ่งขึ้น คือ อนุสัญญาว่าด้วยมลพิษทางอากาศ
                  ข้ามพรมแดนระยะไกล ค.ศ. 1979 (Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution)
                                                                                                          36
                  เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศด้วยการควบคุมสารมลพิษบางประเภท
                  จัดตั้งกลไกในการตรวจสอบ ติดตาม รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังไม่ได้

                  ก�าหนดมาตรฐานคุณภาพทางอากาศเอาไว้อยู่ดี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตกลงที่เกี่ยวกับ
                  การควบคุมมลพิษข้ามพรมแดนอยู่ คือ ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน

                  (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution)  ที่มุ่งป้องกันและติดตามตรวจสอบการเกิด
                                                                     37
                  ไฟป่าและการเผาในที่โล่งแจ้ง


                          นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ควรจะต้องกล่าวถึงกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย

                  หน้าที่ของรัฐในการป้องกัน ลด และควบคุมภาวะมลพิษทางอากาศที่อาจสร้างผลกระทบอย่างมีนัยส�าคัญ
                  ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่น เป็นหน้าที่ของรัฐที่มีอยู่ตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง

                         38
                  ประเทศ  ข้อสังเกต คือ ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้รัฐ
                  ต้องด�าเนินการแบบเดียวกันเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐของตน แต่อย่างไรก็ตาม

                  รัฐมีหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนดังที่ได้กล่าวไปแล้ว


                          มีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอภิปรายถึงตราสารอีกประเภทที่ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย
                  แต่ก็มีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องค�านึงถึง หรือที่เรียกว่า “Soft Law”  Soft Law ที่เกี่ยวข้อง
                                                                                      39

                  35   Minamata Convention on Mercury (adopted 10 October 2013, entered into force 16 August 2017) UNTS
                  No. 54669.

                  36   Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution (done 13 November 1979, entered into force
                  16 March 1983) 1302 UNTS 217.
                  37   ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution (adopted 10 June 2002, entered into force 25 November
                  2003) <http://www.asean.org> (25 February 2015).
                  38   ดู Trail Smelter (United States of America v Canada) (1938/41) 3 RIAA 1905 และดู Legality of the Threat
                  or Use of Nuclear Weapons, Advisory Opinion [1996] ICJ Rep 226, para 29 เนื้อความในภาษาอังกฤษระบุว่า
                  “The existence of the general obligation of States to ensure that activities within their jurisdiction and control

                  respect the environment of other States or of areas beyond national control is now part of the corpus of
                  international law relating to the environment”
                  39   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Pierre-Marie Dupuy, ‘Soft Law and the International Law of the Environment’ (1990)
                  12 Michigan Journal of International Law 420, 420-435; Alan E. Boyle, ‘Some Reflections on the Relationship of
                  Treaties and Soft Law’ (1999) 48 International and Comparative Law Quarterly 901, 901-913; Jürgen Friedrich,
                  International Environmental “Soft Law” The Functions and Limits of Nonbinding Instruments in International
                  Environmental Governance and Law (Springer 2013).
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28