Page 26 - kpiebook65055
P. 26

26      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             ที่ได้ตีความและปรับใช้กฎหมายเพื่อสร้างบรรทัดฐานในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับรอง

             สิทธิของปัจเจกบุคคลที่สามารถเรียกร้องให้รัฐด�าเนินการให้ถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพอากาศได้
             ดังที่ศาลเคยกล่าวไว้ว่า “Persons directly concerned by a risk that the limit values or alert threshold

             may be exceeded must be in a position to require the competent authorities to draw up an action
             plan where such a risk exists, if necessary by bringing an action before the competent national

             courts”  ดังนั้น ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
                    49
             ให้กับกฎหมายคุณภาพอากาศของรัฐสมาชิก โดยเฉพาะปัจเจกบุคคลซึ่งสามารถหยิบยกบทบัญญัติกลาง

             ที่ออกโดยสหภาพยุโรปขึ้นมาเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลของตนด�าเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อปรับปรุง
             คุณภาพอากาศในระดับประเทศให้ดีขึ้น


                      ในอีกหลายประเทศที่ไม่มีองค์การเหนือรัฐแบบเดียวกับสหภาพยุโรป การก�ากับดูแลคุณภาพอากาศ

             มักประกอบด้วยหลายระดับชั้น เช่น รัฐบาลกลางมักเป็นผู้ก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศขึ้น แต่การ
             ก�ากับดูแลเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาจป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลแห่งมลรัฐ






             2.5 ปัจจัยที่ท�าให้รัฐมีหน้าที่ต้องก�าหนดมาตรฐาน

             คุณภาพอากาศ




                      ปัจจัยที่ท�าให้รัฐมีหน้าที่ต้องก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ค�าถามคือ อะไรเป็นปัจจัย
             ที่ท�าให้รัฐต้องก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศขึ้น ปัจจัยแรกคือ ความผูกพันหรือพันธกรณีระหว่าง

             ประเทศ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในปัจจุบันไม่มีสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับภาวะมลพิษทางอากาศฉบับใด

             ที่ก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศเอาไว้ มีเพียงแต่ระบบกฎหมายของสหภาพยุโรปเท่านั้นที่วางกฎเกณฑ์
             ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพื่อให้รัฐสมาชิกทั้ง 27 ประเทศปฏิบัติตาม กฎหมายฉบับที่ส�าคัญ คือ Directive
             2008/50 on ambient air quality and cleaner air for Europe  ดังนั้น รัฐสมาชิกจึงไม่มีดุลยพินิจ
                                                                       50
             ที่จะออกกฎหมายภายในเพื่อก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศให้ต�่ากว่า Directive 2008/50 ได้

             แต่สามารถออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าได้ พันธกรณีระหว่างประเทศที่ท�าให้รัฐมีหน้าที่ต้องออกกฎหมาย
             เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพอากาศอีกกรณีหนึ่งคือ พันธกรณีของรัฐที่มีอยู่ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
             ระหว่างประเทศที่เรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสุขภาพและชีวิตของประชาชนภายในรัฐ รวมไปถึงสิทธิของ

             ประชาชนในเชิงกระบวนการและเชิงเนื้อหาที่ท�าให้รัฐต้องออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ

             คุณภาพอากาศ ในหลายประเทศมีการรับรองสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ
             จึงท�าให้สิทธิดังกล่าวกลายเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ (constitutional rights) ที่รัฐรับรองและคุ้มครองให้อยู่



             49   Case C-237/07 Dieter Janecek v. Freistaat Bayern [2008] para 39.
             50   Directive (EC) 2008/50 on Ambient Air Quality and Cleaner Air for Europe [2008] OJ L152/1.
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31