Page 31 - kpiebook65055
P. 31

31





                          ประเด็นที่น่าสนใจที่เห็นควรหยิบยกขึ้นมากล่าวในที่นี้คือ เกณฑ์ส�าหรับการประเมินว่า

                  มาตรการที่รัฐสมาชิกได้เลือกและระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการคุณภาพอากาศเพียงพอแล้วหรือไม่
                  คดี Commission v France  ยกข้อต่อสู้ว่า มาตรการที่ตนได้เลือกนั้นถูกขัดขวางโดยผลกระทบจาก
                                           62
                  การเติบโตของประชากรที่สูงขึ้นส่งผลให้มีการใช้ยานพาหนะเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของการขนส่ง
                  กล่าวคือ การใช้บริการสาธารณะไม่อาจเพิ่มขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ประกอบกับการแก้ปัญหา

                  ด้านประชากรและการเปลี่ยนผ่านไปใช้รถยนต์ให้น้อยลงนั้นเป็นเรื่องของการลงทุนในระยะยาว ประเทศ
                  ฝรั่งเศสย�้าอีกว่า ดุลพินิจของรัฐต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้คนได้อย่างเสรี

                  นอกจากนั้น เมื่อต้องชั่งน�้าหนักของผลประโยชน์ต่างๆ ตนได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การออกกฎระเบียบ
                  ที่เรียกเก็บภาษีเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเพราะเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว และหากเลือกใช้

                  มาตรการดังกล่าวอาจเกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น ประเทศฝรั่งเศสเห็นว่าความมีประสิทธิภาพของ
                  มาตรการที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน  ศาลในคดีนี้วางหลัก
                                                                                        63
                  ที่น่าสนใจหลายประการ ประการแรก ศาลอ้างถึงคดี Commission v Poland และสกัดหลักการจากคดี
                  ดังกล่าวโดยการเทียบเคียงว่า อุปสรรคในเชิงโครงสร้าง (structural difficulites) ที่เกิดจากความท้าทาย

                  ด้านสังคม-เศรษฐกิจ และด้านการเงินของการลงทุนขนาดใหญ่ ไม่ถือว่าเป็นข้อยกเว้นและความเป็นไปได้
                  ของการก�าหนดระยะเวลาที่สั้นที่สุดของการมีภาวะมลพิษทางอากาศที่เกินมาตรฐาน ประการที่สอง ในการ

                  พิจารณาว่าเป็นมาตรการที่เพียงพอหรือไม่ ศาลใช้เกณฑ์ระยะเวลาของการเกินค่ามาตรฐาน แนวโน้มของ
                  การลดลงของภาวะมลพิษ และสารัถตะของแผนปฏิบัติการที่จะพิจารณาจากเหตุที่มีการเกินค่ามาตรฐาน

                  และมาตรการที่ใช้ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ รวมไปถึงมาตรการที่ใช้ครอบคลุมทุกภาคส่วนหรือไม่


                          ค�าถามต่อมาคือ หากรัฐปล่อยให้มีมลสารจนเกินค่ามาตรฐานที่ก�าหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
                  และรัฐก็ไม่ได้จัดท�าแผนปฏิบัติการด้านคุณภาพอากาศ ปัจเจกบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร ในกรณีนี้

                  ในคดี Dieter Janecek v. Freistaat Bayern  ศาลวินิจฉัยว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอยู่ในฐานะ
                                                         64
                  ที่จะร้องขอให้เจ้าหน้าที่ที่มีอ�านาจร่างก�าหนดแผนปฏิบัติการหากมีความเสี่ยงเกิดขึ้น และหากจ�าเป็น

                                                       65
                  ก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอ�านาจได้  ศาลสามารถมีสั่งให้หน่วยงานรัฐก�าหนดแผนปฏิบัติการ
                                                                                                          66
                  และในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธอยู่เป็นอาจิณที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับค�าพิพากษาของศาล
                  ที่ได้สั่งให้ด�าเนินการพันธกรณีของกฎหมายสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Directive 2008/50 ก็ขึ้นอยู่กับ
                  ศาลภายในประเทศที่มีเขตอ�านาจที่จะบังคับเอากับ (coercive detention) เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับ

                  การใช้อ�านาจรัฐได้ หากบทบัญญัติแห่งกฎหมายภายในอนุญาตให้ศาลด�าเนินการดังกล่าว  67





                  62   Case C-636/18 European Commission v French Republic [2019]
                  63   Para 31
                  64   Case C-237/07 Dieter Janecek v. Freistaat Bayern [2008]
                  65   Ibid para 39.
                  66   Case C-404/13 ClientEarth v. The Secretary of State for the Environment, Food and Rural Affairs [2014]
                  67   Case C-752/18 Deutsche Umwelthilfe eV v Freistaat Bayern [2019] para
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36