Page 34 - kpiebook65055
P. 34
34 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
2.7.9 สิทธิด้านคุณภาพอากาศในเชิงกระบวนการ
(procedural air quality rights)
สิทธิด้านคุณภาพอากาศในเชิงกระบวนการ (procedural air quality rights) ภายหลังจาก
การรับรองหลักการเรื่องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิในการ
เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในปฏิญญาริโอ ค.ศ. 1992 ประเทศต่างๆ ได้น�าหลักการดังกล่าวไปบรรจุไว้
ในกฎหมายของตน รวมไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Convention on Access on Information,
Public Participation in Decision-Making and Access to Justice in Environmental Matters (Aarhus
Convention)
การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่อยู่ในความครองครอบของเจ้าหน้าที่รัฐ
เป็นองค์ประกอบที่ส�าคัญยิ่งของนโยบายด้านคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะมลพิษทางอากาศ
สิทธินี้เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่รัฐต้องมีจัดท�าระบบการตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ดีและมีคุณภาพ ตัวอย่าง
ที่น่าสนใจ คือ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศเม็กซิโก ได้ให้ความเห็นทั่วไปหมายเลข
32/2018 ว่าด้วยการละเมิดสิทธิในสุขภาพที่เกี่ยวกับภาวะมลพิษทางอากาศในเมือง คณะกรรมาธิการ
แนะน�าให้ทบทวนมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยให้ค�านึงถึงค�าชี้แนะขององค์การอนามัยโลกและให้ประกัน
การเข้าถึงข้อมูลด้านเทคนิค พร้อมกันนั้นคณะกรรมาธิการได้แนะน�าให้ปรับปรุงเครือข่ายการติดตามเฝ้าระวัง
คุณภาพอากาศและให้ความสนใจกับสภานการณ์พิเศษของกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กและผู้ที่มีอายุสูงกว่า
65 ปี สตรีมีครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคหืดหอบ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และผู้ที่ท�างานนอกอาคาร 75
เมื่อเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลซึ่งอาจเป็น
การให้ข้อมูลเชิงรุกทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน หรืออาจเป็นการให้ข้อมูลเมื่อประชาชน
ร้องขอ สิทธิในข้อมูลข่าวสารเป็นมักท�าให้การใช้สิทธิเชิงกระบวนการอื่นๆ เป็นไปได้อย่างแท้จริง กล่าวคือ
หากปราศจากข้อมูลเสียแล้ว การใช้สิทธิทางศาลเพื่อฟ้องร้องรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
สิ่งส�าคัญ คือ การสื่อสารข้อมูลที่มีความซับซ้อนไปยังประชาชนในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย หลายประเทศ
ใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ Air quality index เป็นเครื่องมือในการบอกถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
แบบ real time รูปแบบของข้อมูลมักจะปรากฏด้วยการใช้แทบสีเพื่อบ่งบอกถึงระดับของคุณภาพอากาศ
และเนื่องจากไม่มีมาตรวัดที่เป็นสากลจึงท�าให้ดัชนีคุณภาพอากาศแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ประกอบไปด้วย สิทธิการมีส่วนร่วมในการก�าหนด
มาตรฐานคุณภาพอากาศ และสิทธิการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ เช่น โครงการ
76
ของ CurieuzeNeuzen Vlaanderen ในประเทศเบลเยียมที่ให้ประชาชนร่วมกันรายงานคุณภาพอากาศจาก
75 México, Comisión Nacional de los Derechos Humanos: Recomendación General 32/2018 (24 July 2018)
อ้างใน UNEP, Regulating Air Quality: The First Global Assessment of Air Pollution Legislation (UNEP 2021) 66.
76 เช่น มาตรา 50 (2) รัฐธรรมนูญแห่งประเทศฟิจิ และมาตรา 61(1)(d) รัฐธรรมนูญแห่งประเทศเคนยา