Page 37 - kpiebook65055
P. 37
37
บทที่ 3
วิเคราะห์ประเด็นและข้อสังเกต
เกี่ยวข้องกับการก�ากับดูแล
คุณภาพอากาศตามกฎหมายไทย
และร่างกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับอากาศสะอาด
3.1 ประเทศไทยมีกฎหมายก�ากับดูแลคุณภาพอากาศหรือไม่
การเสนอร่างกฎหมายใหม่นั้นควรต้องพิจารณาเสียก่อนว่ากฎหมายเก่าพอที่จะใช้บังคับได้หรือไม่
เพราะแนวนโยบายของรัฐที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้
รัฐพึงมีกฎหมายเท่าที่จ�าเป็นเท่านั้น ในปัจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายแม่บทที่มีความส�าคัญที่สุดในบรรดากฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติที่ใช้เพื่อก�ากับดูแลคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของน�้า ดิน
รวมไปถึงคุณภาพอากาศซึ่งบัญญัติอยู่ในหมวด 4 ว่าด้วยการควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องมลพิษ
ทางอากาศและทางเสียง ตั้งแต่มาตรา 64-68 ที่ก�าหนดรายละเอียดของเรื่องเอาไว้ นอกจากนั้นแล้ว
มาตรา 32 (4) ประกอบมาตรา 13 (2) ได้ให้อ�านาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก�าหนดมาตรฐาน
คุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ในการก�าหนดมาตรฐานนั้นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ต้องค�านึงถึงหลักวิชาการ กฎเกณฑ์ และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน และจะต้องค�านึงถึง
ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย
มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ได้ออกประกาศก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาแล้ว
หลายฉบับอย่างต่อเนื่อง กฎหมายก�าหนดค่ามาตรฐานสารมลพิษทางอากาศ 7 ประเภท ประกอบด้วย