Page 32 - kpiebook65055
P. 32

32      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







                     2.7.5 การเลือกใช้เกณฑ์เพื่อก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ
             ในบรรยากาศทั่วไปในกฎหมาย


                      มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปโดยอ้างอิงตาม

             ค�าแนะน�าขององค์การอนามัยโลก มีเพียงร้อยละ 9 ของประเทศที่มีกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพ
             อากาศในบรรยากาศทั่วไปส�าหรับกรณีของ PM เท่านั้นที่ใช้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก  ส่วนใหญ่แล้ว
                                                                                          68
                                                     2.5
             มักมุ่งก�ากับดูแลการปล่อยมลพิษจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีกฎหมายควบคุม
             การผลิต SO , NO  และ PM  เพราะมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                         2     2        10
             ภูมิอากาศในระดับโลกมากกว่า



                     2.7.6 มาตรฐานคุณภาพอากาศในอาคาร


                      มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ก�าหนดมาตรฐานคุณภาพในอาคาร เช่น ประเทศเคนย่า คูเวต
             เบลเยียม โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการควบคุมคุณภาพอากาศในสถานที่ท�างาน ส่วนกฎหมายของประเทศ

             สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการก�าหมดมาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานที่สาธารณะที่มีลักษณะปิด
             หรือกึ่งปิด โดยต้องจัดให้มีการระบายอากาศในพื้นที่ดังกล่าว 69



                     2.7.7 หน้าที่ของรัฐ


                      ในระบบการก�ากับดูแลเข้มแข็ง มักมีการก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่ควบคุมให้คุณภาพอากาศเป็นไป

             ตามมาตรฐานตามที่กฎหมายก�าหนด เหตุผลเนื่องมาจากอากาศในบรรยากาศถือว่าเป็นประโยชน์
             ส่วนรวม (public good) และไม่มีปัจเจกบุคคลผู้ใดเป็นเจ้าของ จึงไม่อาจให้ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ก�ากับดูแล

             หรือควบคุม นอกจากนั้น การที่ภาวะมลพิษทางอากาศมีแหล่งก�าเนิดที่หลากหลายและกระจัดกระจาย
             ไปในหลายพื้นที่ เป็นปัจจัยที่ท�าให้รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ

             เพื่อแก้ไขปัญหา

                      หน้าที่ของรัฐอาจมีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่เข้มงวดมากที่สุดคือ กฎหมายที่ก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่

             ท�าให้แน่ใจว่าคุณภาพอากาศเป็นไปตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้โดยปราศจากข้อยกเว้น เช่น กฎหมาย

             ของสหภาพยุโรป หากรัฐไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่ให้ส�าเร็จลุล่วงได้ รัฐจะมีความรับผิดตามกฎหมาย


                      รูปแบบที่เข้มงวดน้อยลงมาคือ กฎหมายก�าหนดให้รัฐใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุด (best effort)
             เพื่อท�าให้คุณภาพอากาศเป็นไปตามมาตรฐาน


                      รูปแบบต่อมาคือกฎหมายก�าหนดหน้าที่ของรัฐเฉพาะในกรณีที่คุณภาพอากาศไม่เป็นไปตาม
             มาตรฐาน ซึ่งกฎหมายของประเทศต่างๆ ได้บัญญัติในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น


             68   UNEP, Regulating Air Quality: The First Global Assessment of Air Pollution Legislation (UNEP 2021) 5

             69   UNEP, Regulating Air Quality: The First Global Assessment of Air Pollution Legislation (UNEP 2021) 55.
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37