Page 71 - kpiebook65043
P. 71
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 1
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
กระแสเสรีนิยมและกระแสอนุรักษ์นิยมในสังคมไทยกลับไม่สามารถส่งผลในเชิงบวกให้
ประชาธิปไตยไทยไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ประชาธิปไตยไทย
มีความเข้มแข็ง เมื่อนั้น ระบอบนี้ก็มักจะถูกโค่นล้ม หรือถ้าหากเปรียบเทียบประชาธิปไตยไทย
เป็นนักกีฬา เมื่อไหร่ก็ตามที่นักวิ่ง ที่ป้ายบนหน้าอกเขียนว่า “ประชาธิปไตย” วิ่งเข้าเส้นชัย
ได้แล้ว ก็จะถูกกรรมการจับหาว่า กระทำผิดกติกา (foul) หรือเมื่อไหร่ที่นักมวยประชาธิปไตย
ชกชนะบนเวที กรรมการก็จะชูมือให้แพ้ นั่นก็คือ ประชาธิปไตยไทยแทบจะไม่เคยเป็นฝ่ายชนะ
เลยเพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมมี “อำนาจพิเศษ” เพื่อใช้ในการโค่นล้มประชาธิปไตยเสมอ จนอาจ
กล่าวได้ว่าสภาวะของการล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยไทยที่เกิดจากรัฐประหารกลายเป็น
อัตลักษณ์ของการเมืองไทยไปโดยปริยาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองไทยมีอัตลักษณ์
พิเศษคือการเผชิญกับการรัฐประหารจนเป็นเรื่องปกติ และต้องยอมรับว่าประเทศไทย
ในศตวรรษที่ 21 ยังคงมีรัฐประหารเกิดใน พ.ศ. 2549 และเกิดรัฐประหารอีกครั้ง
ใน พ.ศ. 2557 จะเห็นว่าในเวลาไม่ถึง 10 ปี ประเทศไทยมีรัฐประหารเกิดขึ้นถึงสองครั้ง
ซึ่งถือเป็นสถิติที่ไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย สรุปก็คือ ในสภาวะเช่นนี้ รัฐประหาร
กลายเป็นอัตลักษณ์ของการเมืองไทย และขณะเดียวกัน ก็ทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับ
การล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยจนกลายเป็นภาวะที่พบเห็นได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมองว่า รัฐประหารเป็นชัยชนะของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ก็อยากจะขอ
กล่าวไว้ตรงนี้ว่า ในอีกด้านหนึ่งนั้น รัฐประหารก็เป็นสัญญาณแห่งความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษ์
นิยมเช่นกัน เพราะถ้าหากพิจารณาจริง ๆ การเกิดขึ้นของรัฐประหาร เป็นการตอบเราว่า
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่เคยชนะในทางการเมืองได้เลย และจำเป็นจะต้องอาศัยอำนาจของ
ฝ่ายเสนานิยมเพื่อใช้ในการโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ต้องการ อันเป็น
การใช้อำนาจที่เป็นพลังอำนาจทางทหารของชาติเพื่อโค่นล้มระบอบการเมืองของประเทศ
ในสภาวะเช่นนี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือไม่ว่าจะอย่างไรประชาธิปไตยก็แพ้ เพราะประชาธิปไตย
ไม่สามารถต้านทานรัฐประหารได้ในบริบทของการเมืองไทย นั่นหมายความว่า ในสภาวะที่
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามที่จะสร้างอำนาจผ่านกลไกของฝ่ายทหาร หรือหมายถึง การที่
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมร่วมเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับฝ่ายเสนานิยมส่งผลให้การพัฒนา
ประชาธิปไตยในประเทศไทยประสบปัญหามาตลอด
การต่อสู้ของกระแสการเมืองเช่นนี้ดำรงอยู่ในสังคมการเมืองไทยมาเป็นระยะเวลา
ยาวนาน และกลายเป็นความท้าทายว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การรัฐประหารใน พ.ศ. 2557
จะเป็นรัฐประหารครั้งสุดท้ายของการเมืองไทย แต่คำถามดังกล่าวจะตอบยืนยันไม่ได้ ดังเช่น การแสดงปาฐกถานำ
ในอดีตของเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อเกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบ
เรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ก็เคยมีความหวังว่ารัฐประหารครั้งนั้น ซึ่งจบลงด้วยการลุกขึ้นต่อสู้
ครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จะเป็นจุดจบที่ปิดฉากสุดท้ายของการก่อรัฐประหาร
ในการเมืองไทย แต่สุดท้ายแล้ว เราก็ได้เห็นการหวนคืนของรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และ
พ.ศ. 2557 นั่นแปลว่าสิ่งที่ต้องคิดคือ ทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างกลไกของฝ่ายประชาธิปไตย