Page 73 - kpiebook65043
P. 73
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 3
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
อาจกล่าวได้ว่า กอ.รมน. เป็นตัวแทนของระบอบเสนานิยมที่ซ้อนอยู่กับระบบการเลือกตั้ง
ที่เกิดขึ้น นั่นหมายความว่าเครือข่ายรัฐซ้อนรัฐที่ถูกออกแบบเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่ออนาคตของ
การสร้างประชาธิปไตย
5) การออกแบบบทบาทของกองทัพ ซึ่งเราได้เห็นบทบาทของกองทัพและการขยาย
อำนาจของทหาร จนทำให้เกิดคำถามที่ใหญ่ที่สุดคือ เมื่อใดระบอบการเมืองจะสามารถสร้าง
กองทัพไทยให้เป็นประชาธิปไตย หรือเมื่อไหร่ที่จะสามารถปฏิรูปกองทัพไทยให้เป็นทหารอาชีพ
หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อไหร่ที่ประเทศไทยจะอยู่ในเงื่อนไขที่ทำให้ทหารไทยลดความเป็น
“ทหารการเมือง” และก้าวสู่ความเป็น “ทหารอาชีพ” เพราะตราบใดที่กองทัพยังมีบทบาท
ทางการเมือง และดำรงอยู่ด้วยการเป็นทหารการเมืองแล้ว กระบวนการสร้างประชาธิปไตย
จะเผชิญกับอุปสรรคอย่างมาก
6) การออกแบบองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้องค์กรอิสระเหล่านี้กลายเป็น
“องค์กรที่ไร้อิสระ” แต่กลับเป็นองค์กรที่ตอบสนองต่อการสร้างอำนาจของระบอบพันทาง
หรือเป็นองค์กรที่ตอบสนองและเอื้อต่อการดำรงอยู่ของระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าใน “ปุ๋ยสูตร 6+6” นั้น 6 แรก เป็นการออกแบบ
โครงข่ายอำนาจ โครงสร้างอำนาจรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กฎหมายที่ไม่เป็น
ประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โครงข่ายรัฐซ้อนรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อ
การพัฒนาประชาธิปไตย การขยายบทบาทของทหารที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย รวมทั้ง
การสร้างองค์กรอิสระเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
ในขณะเดียวกัน ในส่วน 6 หลังนั้น เป็นการออกแบบกลไกอีกหกประการ คือ
1) การสร้างกลไกทางกฎหมายที่ไม่สนองตอบต่อการสร้างความเป็นนิติรัฐ ซึ่งถ้าหาก
เราไม่สามารถสร้างความเป็นนิติรัฐให้เกิดขึ้นในสังคมได้ ก็เป็นที่ชัดเจนว่าโอกาสของการสร้าง
ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย วันนี้ เราไม่อาจพูดแต่เพียงว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของ
การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน อันเป็นคำกล่าวที่เป็นนามธรรม
เท่านั้น แต่คำตอบที่ชัดเจนของดัชนีที่วัดค่าประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์
โลกปัจจุบันคือการวัดด้วย “ความเป็นนิติรัฐ” ซึ่งถ้าหากความเป็นนิติรัฐไม่เกิดขึ้นจริง ก็ไม่มี
ทางที่ประชาธิปไตยจะเกิดกับรัฐนั้นได้เลย
2) การออกแบบกลไกของการโฆษณาทางการเมืองเพื่อหวังจะทำหน้าที่ในการปฏิบัติการ การแสดงปาฐกถานำ
จิตวิทยาโดยหวังว่าจะทำหน้าที่ในการสร้างข้อมูลข่าวสารให้ระบอบพันทาง หรือเรามักพูดกัน
เสมอว่ากลไกของการโฆษณาทางการเมือง คือ “การปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “Information
Operation” (IO) และดังที่เห็นในปัจจุบัน แม้ว่าในความเป็นจริงสิ่งที่เกิดขึ้นไม่อยู่ในสถานะ
ของการเป็นการปฏิบัติการข่าวสารในความหมายทางการทหาร แต่ถ้าหากพูดด้วยนิยามทาง
การทหารแบบสากล การปฏิบัติการข่าวสารที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันเป็นเพียง “ปฏิบัติการ