Page 74 - kpiebook65043
P. 74

4   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           จิตวิทยา” ของฝ่ายทหารที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 เท่านั้น เพราะฝ่ายทหารมีขีดความสามารถ
           และมีทักษะของการใช้ปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นเครื่องมือมาตั้งแต่ยุคสงครามคอมมิวนิสต์ และ
           วันนี้เราก็ยังเห็นการใช้กลไกและเครื่องมือเช่นนั้นอยู่ บทบาทในมิตินี้เป็นประเด็นสำคัญ
           ในการเมืองไทย


                 3) การสร้างกลไกการควบคุมทางการเมืองเพื่อควบคุมกระแสของการต่อต้านทาง
           การเมือง กลไกชุดนี้เป็นกลไกของการใช้อำนาจทั้งทางฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ และ
           สถาบันตุลาการ เพื่อควบคุมผู้ที่มีความเห็นต่างและผู้ที่มีความเห็นแย้ง ดังที่เห็นได้ชัดเจนว่า
           กลไกชุดนี้มีบทบาทอย่างมาก เพื่อรองรับการสร้างระบอบพันทาง และการดำรงอยู่ของระบอบ

           การปกครองแบบที่เห็นในปัจจุบัน อีกทั้งทำให้ข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายในทางกฎหมายไม่มีผลต่อ
           การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

                 4) การสร้างกลไกของ “รัฐราชการ” เพื่อเป็นเครื่องมือของระบอบพันทาง ซึ่งโดย

           หลักการแล้ว รัฐในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ควรจะต้องลดความเป็นรัฐราชการลง แต่ไม่น่าเชื่อว่า
           สิ่งที่พบเห็นในปัจจุบันคือ รัฐไทยกลับมีสภาวะเป็นรัฐราชการที่มากขึ้น ดังจะเห็นว่า เมื่อผู้นำ
           รัฐบาลไทยอยู่ต่อหน้าสื่อหรือถ่ายรูปออกรายการต่าง ๆ ก็จะต้องแต่งเครื่องแบบข้าราชการ
           เพื่อส่งสัญญาณว่า วันนี้ผู้นำรัฐบาลเป็นหัวหน้าสูงสุดของหน่วยราชการ สัญญาณพวกนี้แสดง

           ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจินตนาการของผู้นำไทยยังติดอยู่กับชุดความคิดแบบเดิมว่ารัฐไทย
           เป็นรัฐราชการ และหวังว่ารัฐราชการจะเป็นโอกาสของการขับเคลื่อนสังคมไทยในอนาคต
           อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดในมุมกว้าง อาจกล่าวได้ว่ารัฐราชการเป็นหนึ่งในตัวแบบของความล้าหลัง
           ทางการเมืองเนื่องจากรัฐราชการเป็นผลผลิตจากการเมืองในศตวรรษที่ 20 และในศตวรรษที่ 21

           ก็มีแต่รัฐที่พยายามจะลดระบบราชการ และหวังว่าการลดความเป็นรัฐราชการลงจะเป็นโอกาส
           ของการพัฒนาสังคมและการพัฒนาการเมือง แต่ตรงกันข้ามกับบริบทของประเทศไทย
           ในปัจจุบันที่ยังถือเอากลไกรัฐราชการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศ

                 5) การสร้างกลไกของการแข่งขันทางการเมือง ด้วยการกำเนิดของ “พรรคทหาร”

           ซึ่งอาจเรียกในทางทฤษฎีได้ว่าเป็นการกำเนิดของพรรคในระบอบเดิม หรือ “Regime Party”
           และเป็นพรรคที่รับมอบอำนาจเพื่อที่จะดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้ผู้นำทหารชุดเดิมจาก
           การรัฐประหารสามารถมีอำนาจทางการเมืองต่อได้ภายใต้เงื่อนไขของการเลือกตั้ง จะเห็นว่า
     การแสดงปาฐกถานำ   กลไกลักษณะนี้สอดรับกับกลไกเดิมที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ พรรคทหารชุดหนึ่งอยู่ใน


           วุฒิสภา และพรรคทหารอีกชุดหนึ่งอยู่ในเวทีการเมืองปกติ แต่ในขณะเดียวกัน คำถามที่
           ท้าทายก็คือ อนาคตของพรรคทหารในสังคมไทยไม่เคยสดใส อย่างเช่นพรรคทหารในอดีตไม่ว่า
           จะเป็นพรรคเสรีมนังคศิลาในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม พรรคชาติสังคมในยุคจอมพลสฤษดิ์
           ธนะรัชต์ พรรคสหประชาไทยในยุคจอมพล ถนอม กิตติขจร หรือพรรคเสรีธรรมในยุคของ

           กลุ่มนายทหารห้ารุ่น ซึ่งก็ล้วนต้องเผชิญการสิ้นสุดของพรรคทหารในรูปแบบเดียวกันคือ
           การล่มสลายไปพร้อมกับระบบของทหารและสิ้นอำนาจไปพร้อมกับการหมดอำนาจของ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79