Page 75 - kpiebook65043
P. 75

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23   5
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ผู้นำทหารในแต่ละชุดแต่ละสมัย ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีความท้าทายที่ชวนคิด และน่าจับตามองว่า
             พรรคทหารที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 21 ของระบอบการเมืองไทย จะซ้ำรอยประวัติศาสตร์
             ชุดเดิมของความล่มสลายในอดีตหรือไม่


                   6) การสร้างกลไกของการ “เอาชนะจิตใจประชาชน” ซึ่งเป็นสำนวนที่ใช้ในยุคสงคราม
             คอมมิวนิสต์ และถือว่าการเอาชนะความคิดและจิตใจของผู้คนเป็นโจทย์ใหญ่ของนักการทหาร
             ในยุคที่สงครามมีลักษณะเป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้ ทฤษฎีของสงคราม
             ก่อความไม่สงบได้สอนเราอย่างหนึ่ง คือ รัฐจะชนะสงครามได้ ต่อเมื่อรัฐชนะใจประชาชน และ
             ในวันนี้ รัฐประชานิยมไทยหรือรัฐพันทางซึ่งไม่ว่าจะเรียกในมุมใดก็แล้วแต่ พยายามที่จะ

             เอาชนะจิตใจของประชาชนผ่านกลไกที่ใหญ่ที่สุดนั่นคือกลไกของความเป็นประชานิยม
             “รัฐประชานิยมไทย” ปัจจุบันหรืออาจเรียกว่า “ระบอบประชานิยมทหารไทย” ได้พยายาม
             เอาชนะจิตใจด้วยการแจกและโครงการลดแลกแจกแถมในแบบต่าง ๆ และหวังว่าการแจกเช่นนี้

             จะซื้อใจประชาชนและนำไปสู่ชัยชนะทางการเมืองในอนาคต จึงเป็นประเด็นที่น่าติดตามว่า
             รัฐประชานิยมเช่นนี้จะเป็นปัจจัยของชัยชนะในการแข่งขันทางการเมืองในอนาคตได้จริงเพียงใด

                   จากที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น จะเห็นว่า “ปุ๋ยสูตร 6+6” เป็นดังปุ๋ยสูตรพิเศษ อันเป็น
             ความหวังอย่างมากว่าจะทำให้ระบอบพันทางหรือระบอบการเมืองที่เป็นกึ่งอำนาจนิยมเติบโต

             และแข็งแรงในสังคมไทย ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า สภาวะเช่นนี้ทำให้การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
             ในสังคมไทยประสบปัญหาความยุ่งยากมากขึ้น และเช่นเดียวกันก็ประสบกับความซับซ้อนมากขึ้น
             โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเราสังเกต “ปีกอนุรักษ์นิยม” ในสังคมไทย จะเห็นว่าปีกอนุรักษ์
             นิยมไม่เป็นแต่เพียงพันธมิตรที่แนบแน่นกับ “ปีกเสนานิยม” เท่านั้น แต่ในหลายปีที่ผ่านมา

             ปีกอนุรักษ์นิยมไทยลดความเป็นปีกอนุรักษ์นิยมกระแสหลักและผันตัวเองไปสู่ความเป็น
             อนุรักษ์นิยมที่ใกล้ชิดเท่ากับ “ปีกจารีตนิยม” การผันตัวจากปีกอนุรักษ์นิยมแบบกระแสหลัก
             เท่ากับเป็นการบอกว่าปีกอนุรักษ์นิยมไทยจะเป็นปีกการเมืองที่ไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตย
             และหันเข้าหาชุดความคิดจารีตนิยมมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น ในระยะเวลาที่ผ่านมา

             พลังสามส่วน คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายจารีตนิยม และฝ่ายเสนานิยม ยังผนวกตัวเองเข้ากับ
             การขยายตัวของปัจจัยใหญ่ในสังคมไทย นั่นคือ การเติบโตของระบบทุนนิยมในสังคมไทย
             หรือการขยายตัวของทุนขนาดใหญ่ในบริบทสังคมไทย

                     อาจกล่าวได้ว่า ในวันนี้ฝ่ายขวาไทยในศตวรรษที่ 21 กำลังสร้างบ้านด้วยเสาชุดใหญ่

             สี่เสา โดยเสาที่หนึ่งคืออนุรักษ์นิยม เสาที่สองคือจารีตนิยม เสาที่สามคือเสนานิยม และเสาที่สี่  การแสดงปาฐกถานำ
             คือทุนนิยม ซึ่งอาจจะต้องกล่าวว่าเป็นทุนใหญ่ และในบ้านสี่เสานี้ก็อาศัยคานสองคาน
             เพื่อรองรับ โดยคานที่หนึ่งเป็นคานที่ใช้อำนาจของฝ่ายทหาร ซึ่งก็คือคานที่เป็น “เสนาธิปไตย”
             (Militocracy) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทหารในทางการเมือง และคานที่สองเป็นคานที่ใช้อำนาจ

             ของกระบวนการตุลาการ หรือ “ตุลาการธิปไตย” (Juristocracy) ดังนั้น จากคานทั้งสองนี้
             จะทำให้เราเห็นเสนาธิปไตยกับตุลาการธิปไตย ในสภาวะเช่นนี้ เราอาจต้องยอมรับว่า
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80