Page 69 - kpiebook65043
P. 69

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  69
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   5) เป็นไปได้หรือไม่ที่ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นปัจจัยในการฟื้นฟูชีวิตของผู้คน และ
             เป็นปัจจัยในการฟื้นฟูความหวังของสังคม ทั้งนี้ ถ้าหากประชาธิปไตยไม่สามารถแบกรับ
             บทบาทและภารกิจเช่นนี้ได้จริงแล้ว ประชาธิปไตยก็อาจเผชิญปัญหาจากความท้าทายของ
             ฝ่ายอำนาจนิยม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ถ้าหากประชาธิปไตยในยุคหลัง

             สงครามโลกครั้งที่สองไม่อาจฟื้นฟูชีวิตของคนในยุคดังกล่าวได้แล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือ ชัยชนะ
             ของปีกสังคมนิยม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าหากในขณะนั้น ประชาธิปไตยในยุคหลัง
             สงครามโลกครั้งที่สองไม่สามารถฟื้นชีวิตคนได้ สังคมในตอนนั้นก็อาจจะกลายเป็นสังคมนิยม

             โดยไม่ต้องใช้กองทัพใดยาตราไปยึดอำนาจรัฐ แต่จะเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของ
             ระบบการเลือกตั้งที่ผู้คนในสังคมออกเสียงเพื่อปฏิเสธประชาธิปไตย เพราะเชื่อว่าระบอบ
             ประชาธิปไตยไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

                   6) วันนี้ เทคโนโลยีชุดใหม่ ๆ ได้นำความผันผวนหรือความเปลี่ยนแปลงมาสู่การดำเนิน

             ชีวิต และความผันผวนนี้ก็เกิดขึ้นในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลจากความเป็น “โลกไร้สาย”
             หรือ “โลกออนไลน์” หรือ “โลกไซเบอร์” แม้กระทั้งการก้าวจาก 4G หรือ 5G ไปสู่โลกของ
             “Metaverse” ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตย คำถาม
             ที่สำคัญก็คือ ทำอย่างไรที่ประชาธิปไตยจะเผชิญกับโจทย์เทคโนโลยีชุดใหม่ ๆ เหล่านี้ หรือ
             ทำอย่างไรที่ระบอบประชาธิปไตยจะอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้เป็นพลังในการสร้าง

             ความเข้มแข็งของประชาธิปไตยในอนาคต (Democratic Consolidation)

                   7) โจทย์ที่สำคัญอีกประการคือ ทำอย่างไรที่ระบอบประชาธิปไตยจะเผชิญกับภัยคุกคาม
             แบบข้ามชาติได้ ซึ่งปัญหาในมิติด้านความมั่นคงวันนี้ จะไม่ได้มีเพียงโจทย์ความมั่นคงแบบใหม่ ๆ

             หรือที่เรียกว่า “Non - Traditional Security” แต่เป็นภัยคุกคามข้ามชาติ หรือ “Transnational
             Security” หมายความว่าในโจทย์ของความมั่นคงปัจจุบัน จะเห็นมิติใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
             ของการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ วิกฤตอากาศ วิกฤตอาหาร เป็นต้น ซึ่งผลกระทบ
             ต่อความมั่นคงในยุคปัจจุบันก็จะมีลักษณะข้ามชาติ หรืออาจกล่าวได้ว่า โลกาภิวัตน์มีมิติ

             ข้ามชาติเช่นไร ปัญหาความมั่นคงในยุคปัจจุบันก็จะมีมิติข้ามชาติเช่นนั้น ด้วยเหตุนี้ คำถาม
             ที่สำคัญคือ ระบอบประชาธิปไตยจะรับมือกับปัญหาภัยคุกคามที่เป็นโจทย์ข้ามชาติอย่างไร

                   8) ระบอบประชาธิปไตยยังต้องพิจารณาถึงการรับมือกับสงครามรูปแบบใหม่ กล่าวคือ
             สงครามในวันนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องซื้ออาวุธรบแบบเก่า มีเพียงรัฐที่มีชุด

             ความคิดแบบโบราณในทางทหารเท่านั้นที่จะซื้ออาวุธแบบเก่า ด้วยจินตนาการแบบเก่า และ           การแสดงปาฐกถานำ
             รบด้วยชุดความคิดของสงครามแบบเก่า แต่ถ้าหากมองโลกในอนาคตแล้ว สงครามได้เปลี่ยน
             ผ่านเข้าไปสู่มิติของสงครามแบบใหม่ที่รบด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
             ไม่ใช่การรบด้วยอาวุธแบบเก่า ไม่ว่าจะเป็นเรือดำน้ำ รถถัง หรืออากาศยานแบบเดิม จะเห็นได้

             จากข่าวต่างประเทศในวันนี้ ซึ่งพบว่าไม่มีสงครามใดที่ใหม่เท่าสงครามที่ทำโดยโดรน (Drone
             Warfare) และภาพที่ปรากฏอาจไม่ต่างจากในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ที่เราเคยดู หรือไม่มี
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74