Page 66 - kpiebook65043
P. 66
66 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
การเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศ แต่คงต้องเรียกว่าวิกฤตด้านอากาศ (Climate Crisis)
ซึ่งทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า โจทย์ชุดนี้มีความท้าทายเพราะไม่ได้เปลี่ยนแค่ชีวิตของผู้คน
ในสังคม แต่เปลี่ยนภูมิทัศน์ของพื้นที่ต่าง ๆ ในโลก และถ้าหากดูความเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ในวันนี้ ก็จะพบทั้งไฟป่า พายุ ตลอดรวมถึงเห็นความผันผวนและความแปรปรวนของอากาศ
ที่เกิดขึ้นอย่างที่เราไม่คาดคิด เช่น บางพื้นที่ฝนตกมากจนน้ำท่วม ทั้งที่ในอดีตไม่เคยปรากฏว่า
น้ำท่วมจังหวัดนครราชสีมา หรือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากโดยลักษณะทาง
ภูมิศาสตร์ พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ราบสูง
แต่ในวันนี้ เราได้เห็นพายุหลายลูกที่พัดเข้าสู่ทวีปเอเชียจนเกิดสภาวะอากาศแปรปรวน
อยู่สองอย่าง คือ น้ำท่วม หรือฝนแล้ง ประเด็นเรื่องอากาศจึงกลายเป็นวิกฤตอีกชุดหนึ่ง
และเมื่อประกอบกับวิกฤตของเชื้อโรคระบาดที่ได้กล่าวมาแล้ว วันนี้จึงเกิดคำถามใหญ่ว่า
ความผันผวนเช่นนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบอบประชาธิปไตย ? ดังนั้น วันนี้
รัฐประชาธิปไตยจะต้องรับมือและสร้างประสิทธิภาพในการรับมือเพื่อที่จะเผชิญกับโจทย์ชุดใหม่ ๆ
ซึ่งเมื่อปัญหาวิกฤตโรคระบาดรวมเข้ากับวิกฤตเรื่องความผันผวนของอากาศ ก็อาจทำให้เกิด
ผลกระทบต่อขีดความสามารถในการผลิตอาหารของสังคมตามมาได้
อย่างไรก็ตาม โจทย์ด้านอาหารในวันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความมั่นคงด้านอาหารเท่านั้น
แต่เป็นโจทย์เรื่องวิกฤตด้านอาหารที่เป็นผลจากวิกฤตของอากาศและวิกฤตโรคระบาดที่ทำให้
ผู้คนไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพแบบปกติได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเกษตรกรรม
และสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตอาหารลดลง จนทำให้หลายสังคมต้องประสบ
กับวิกฤต นั่นหมายความว่า ประชาธิปไตยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เป็นโจทย์ใหม่ ๆ ซึ่งก็คือ
วิกฤตของโรคระบาดประกอบกับวิกฤตของอากาศและผนวกกับวิกฤตด้านอาหาร และ
ยังมีวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจที่เรากำลังพบเห็นในปัจจุบัน
ดังนั้น ในมิติวิกฤตด้านต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่นี้ สิ่งที่จะพบต่อมาคือความยากจน
ของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น และเกิดคำถามตามมาอย่างสำคัญว่า ประชาธิปไตยจะรับมือกับ
การขยายตัวของความยากจนของผู้คนในสังคมได้อย่างไร ? ทั้งนี้ จะต้องไม่ลืมว่า ในยุคหนึ่ง
ความยากจนนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายอำนาจนิยมหรือบรรดานักประชานิยม
การแสดงปาฐกถานำ หรือโค่นล้มระบบเสรีนิยม
สร้างตัวเองขึ้นมา และสุดท้ายความยากจนนี้ก็กลายเป็นปัจจัยในการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น ในสภาวะเช่นนี้ ความยากจนจึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ ซึ่งวันนี้คนจนมีจำนวน
มากขึ้น สังคมไม่ได้เผชิญกับความยากจนในแบบเดิมแต่เป็นความยากจนในระดับรุนแรงกว่า
และต้องเรียกได้ว่าเป็น “ความยากจนอย่างแสนสาหัส” (Extreme Poverty) โจทย์ความยากจน
ในระดับนี้เป็นสิ่งที่องค์การสหประชาชาติค่อนข้างห่วงกังวล ยิ่งกว่านั้น โจทย์ชุดใหญ่ที่เกี่ยวกับ
ความยากจนนี้ ยังมาพร้อมกับความยากจนของชนชั้นกลาง ในทางรัฐศาสตร์แล้ว ถ้าหาก
ชนชั้นกลางกลายเป็นคนจนก็จะกลายเป็นโจทย์ที่น่ากลัวที่สุด เพราะการแกว่งทางการเมืองของ