Page 62 - kpiebook65043
P. 62

62   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           (The New Democracies) นั้น อาจเดินไปไม่ถึงจุดที่หลาย ๆ คนคิดฝันไว้แต่แรก
           แต่ขณะเดียวกันระบอบดังกล่าวก็มิได้ล้มลงกลับคืนสู่ความเป็นเผด็จการเต็มรูป โดยเฉพาะ
           ไม่ใช่การหวนคืนสู่ระบอบทหารแบบเก่า แต่ผู้นำทหารจำเป็นต้องอาศัยการเลือกตั้งมาเป็น
           เครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจ


                 ในอีกด้านหนึ่ง กระแสของโลกเองก็มีอิทธิพลต่อกระบวนการสร้างประชาธิปไตยทั้งใน
           เวทีโลกและในเวทีของแต่ละประเทศ ดังเช่นที่เราเห็นถึงกระแสโลกาภิวัตน์ที่ก่อให้เกิดกระแส
           ประชาธิปไตยในยุคหลังสงครามเย็นมาแล้ว แต่ในปัจจุบัน กระแสโลกเริ่มสวิงไปสู่ความไม่เป็น
           ประชาธิปไตย พร้อมกันนี้เราก็ได้เห็น การเกิดการปกครองระบอบอำนาจนิยม หรือ

           ระบอบกึ่งอำนาจนิยมในหลายประเทศ ดังนั้น เราคงต้องยอมรับความจริงประการสำคัญว่า
           ความฝันใหญ่ของนักประชาธิปไตยหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็นอาจจะไม่ได้สมหวัง จนบางที
           อาจกลายเป็น “ฝันค้าง” ได้ด้วยเช่นในกรณีการเปลี่ยนผ่านที่ล้มลุกคลุกคลานในไทยที่ยังคง

           ต้องเผชิญกับการรัฐประหารไม่จบ โดยเฉพาะรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557

                 ในอีกด้านของปัญหา การสิ้นสุดของการเผชิญหน้าระหว่างรัฐมหาอำนาจใหญ่ส่งผล
           อย่างสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นกระแสการเมืองหลักเพียงกระแสเดียวของเวทีโลก
           เพราะลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิสังคมนิยมที่เป็นคู่แข่งขันในทางการเมืองได้สิ้นสุดพลัง

           ทางการเมืองลง ฉะนั้น จึงเป็นความหวังอย่างมากในขณะนั้นว่า สภาวะดังกล่าวจะกลายเป็น
           โอกาสของการสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในโลกที่เป็นจริง กลับเกิดความท้าทาย
           ชุดใหม่ที่การก้าวไปบนถนนสายประชาธิปไตยนั้น อาจเป็นเพียงการเดินทางที่หยุดลงระหว่างทาง
           แม้จะเดินหน้าไม่ได้อย่างที่หวัง แต่ก็ไม่ถอยหลังกลับไปทั้งหมด


                 ถ้าเช่นนั้นแล้ว ผลพวงที่ตามมาจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นย่อมจะส่งผลกระทบต่อความเป็นไป
           ของการเมืองในอนาคตอย่างแน่นอน

                 เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เรายังคงเห็นการรัฐประหารในหลายประเทศ และอาจ

           ต้องเรียกว่าเป็นการรัฐประหารของการเมืองแบบเก่า แต่เกิดในบริบทของเวลาใหม่ ในอีกส่วน
           ก็เป็นที่น่าเสียดายในกรณีของประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยคาดหวังว่า หลังจากการเปลี่ยนผ่าน
           ของกระแสโลกในยุคหลังสงครามเย็นแล้ว สังคมไทยจะอยู่ในบริบทที่เป็นตัวอย่างของการสร้าง
     การแสดงปาฐกถานำ   ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะติดกับดักของตนเอง การเมืองไทยตกอยู่ในวังวนของระบอบอำนาจนิยม
           ประชาธิปไตยในภูมิภาคจนกลายเป็น “ตัวแบบการเมือง” หนึ่งในกระแสโลก แต่สุดท้ายแล้ว




                 ในขณะที่การเมืองของโลกชุดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนผ่านที่ทำให้ระบอบการเมืองเป็นแบบ
           พันทาง แต่ในการเมืองของโลกอีกชุดหนึ่งที่ไม่ค่อยมีระดับการพัฒนาทางการเมือง กลับติด
           “กับดัก” ของระบอบอำนาจนิยมแบบเดิมคือ เป็นระบอบอำนาจนิยมภายใต้รัฐบาลทหาร
           ซึ่งเป็นระบอบอำนาจนิยมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพในแบบที่สังคมไทยคุ้นเคยมาแล้ว

           ดังนั้น ในสภาวะเช่นนี้ ยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญ
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67