Page 59 - kpiebook65043
P. 59
59
ภูมิทัศน์ประชาธิปไตยไทย :
ความเปลี่ยนแปลง & ความท้าทาย
สุรชาติ บำรุงสุข*
จากชื่อหัวข้อ “ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่” ทำให้เห็นได้อย่าง
ชัดเจนว่า ประชาธิปไตยในทุกยุคทุกสมัยจะต้องเผชิญกับสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
คือ ความท้าทายที่เกิดขึ้นภายในระบอบประชาธิปไตยในแต่ละช่วงเวลา
ความท้าทายเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลของความเปลี่ยนแปลงในบริบทของ
สถานการณ์โลก หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นผลมาจาก
การกำเนิดขึ้นของภูมิทัศน์ใหม่ ๆ
ในสภาวะความท้าทายนี้ บางครั้งประชาธิปไตยก็ขึ้นสู่กระแสสูง
แต่บางครั้งกระแสประชาธิปไตยก็ตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากถามผู้คน
ที่อยู่ในโลกร่วมสมัย ก็อาจได้คำตอบที่คล้ายคลึงกันว่า ยุคที่กระแส
ประชาธิปไตยไต่ระดับขึ้นสูงที่สุดในสมัยของเรา คือ ยุคหลังสงครามเย็น
(The Post-Cold War Era) หรือโลกหลังสงครามคอมมิวนิสต์
(The Post-Communist World)
ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงในเดือนพฤศจิกายน
ค.ศ. 1989 อันเป็นผลของการรวมชาติของประเทศเยอรมนี และเกิด
การเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์ครั้งใหญ่ด้วยการทุบกำแพงเบอร์ลินนั้น
สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงในเวลาต่อมา อันนำไปสู่การเริ่มต้นของ “กระแส
โลกาภิวัตน์” ตั้งแต่ต้นทศวรรษของ ค.ศ. 1990 และกระแสดังกล่าวนี้
ได้พัดผ่านไปทั่วทุกมุมโลก แน่นอนว่า กระแสนี้ไม่เว้นแม้แต่ประเทศ
เล็ก ๆ อย่างประเทศไทย
ทั้งนี้ เราทราบกันดีว่า แกนกลางของกระแสลมแห่งโลกาภิวัตน์นั้น
คือ “กระแสเสรีนิยม” ซึ่งหมายถึง การเมืองและเศรษฐกิจที่ยืนอยู่บนหลักการ
ของประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งที่กระแสโลกาภิวัตน์
* ศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย