Page 60 - kpiebook65043
P. 60

60   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ขับเคลื่อนก็คือ มีการเรียกร้องให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในทางการเมือง พร้อมกับ
           เรียกร้องให้เป็นทุนนิยมมากขึ้นในทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเกิดผลพวงของกระแสดังกล่าว
           ไม่ว่าจะเป็นกระแสการเรียกร้องในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และขณะเดียวกัน ก็พากระแส
           สิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญของกระแสโลก จนประเด็นนี้ยกระดับเป็นปัญหา

           “ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ” (climate change) ของโลกในปัจจุบัน

                 สิ่งเหล่านี้จึงเป็นดัง “ชุดความฝัน” ใหญ่ของคนในสมัยนั้น ซึ่งเชื่อว่าโลกหลังสงครามเย็น
           จะเข้าสู่ “ยุคของการปฏิวัติประชาธิปไตย” อีกครั้งหนึ่ง และเกิดสำนวนที่ใช้เรียกปรากฎการณ์
           ที่อยากเห็นในทางการเมืองว่า “Global Democratic Revolution” และไม่ผิดนักที่หลายคน

           ฝันว่า กระแสลมแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยนี้จะพัดไปทุกทิศทางทั่วโลก และเชื่อว่ากระแสลม
           ดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การล้มลงของการปกครองในระบอบเผด็จการ และส่งผลให้เกิด
           การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย (democratic transition) แน่นอนว่า ความฝันในลักษณะนี้

           เป็นความท้าทายอย่างยิ่ง

                 ความฝันถึงสังคมประชาธิปไตยถูกตอกย้ำจากมุมมองทางวิชาการ  ดังเช่น Samuel P.
           Huntington นักวิชาการชาวอเมริกัน ที่เรียกสภาวะดังกล่าวว่า “คลื่นลูกที่สามของประชาธิปไตย”
                                             1
           (The Third Wave of Democracy)  และชี้ให้เห็นว่า คลื่นลูกที่สามของประชาธิปไตยนี้
           มีความน่าสนใจในทางทฤษฎี ซึ่งท้าทายในทางปฏิบัติว่า คลื่นลูกที่สามจะดำรงอยู่ได้ยั่งยืนเพียงใด
           แล้วเราจะยังฝันถึงประชาธิปไตยได้อีกนานเพียงใด

                 อย่างไรก็ตาม Huntington เองก็ได้กล่าวเตือนไว้ในงานเขียนดังกล่าวว่า กระแส
           ประชาธิปไตยของคลื่นลูกที่สาม สุดท้ายอาจกลายเป็น “กระแสคลื่นที่ตีกลับ” (reversed

           waves) ซึ่งอาจจะทำให้ประชาธิปไตยที่ทุกคนฝันถึงนั้น ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยตัวอย่างที่ชัดเจน
           ที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต กล่าวคือ หลังจากระบอบ
           การปกครองแบบสังคมนิยมของสหภาพโซเวียตล่มสลายแล้ว หลายคนเชื่อว่ารัสเซียจะเปลี่ยน
           จาก “รัฐสังคมนิยม” ไปสู่ความเป็น “รัฐประชาธิปไตย” จนเกิดคำกล่าวที่มีลักษณะเป็น

           คำล้อว่าความเป็นสังคมนิยมของสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเพียงเส้นทางที่คดเคี้ยวเพื่อเดินกลับไป
           สู่ความเป็นประชาธิปไตย หรือกระทั่งมีการกล่าวว่าความคดเคี้ยวของสังคมนิยมในแบบสหภาพ
     การแสดงปาฐกถานำ   รัสเซียนั่นเอง
           โซเวียตนั้น แท้จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ การหวนคืนของระบบตลาดในสังคม




               1
                 Samuel P. Huntington ได้กล่าวถึงคลื่นประชาธิปไตย (Waves of Democracy) ซึ่งหมายถึง

           การพัฒนาของกระแสประชาธิปไตยในโลกและสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วง โดยคลื่นลูกแรกของประชาธิปไตย
           เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1828 - 1926 คลื่นลูกที่สองของประชาธิปไตยเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
           ส่วนคลื่นลูกที่สาม เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1974 (โปรดดู Samuel P. Huntington, “Democracy’s Third
           Wave,” Journal of Democracy, Spring 1991, retrieved Jan 12 , 2022, from https://www.ned.org/
                                                               th
           docs/Samuel-P-Huntington-Democracy-Third-Wave.pdf)
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65