Page 63 - kpiebook65043
P. 63

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  63
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ในทางการเมือง และขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย
             ภายใต้เงื่อนไขของการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น

                   นอกจากความท้าทายของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเผชิญกับการกำเนิด

             ขึ้นของระบอบพันทางแล้ว ประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21 ยังต้องเผชิญกับโจทย์ใหม่ ๆ
             เพิ่มขึ้นอีก โดยในหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยต้องเผชิญกับโจทย์ของ
             ความรุนแรงที่มาจากการก่อการร้าย ซึ่งหลังการโจมตีขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
             เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้เกิดคำถามที่สำคัญตามมา คือ ประชาธิปไตยใน
             สหรัฐอเมริกาจะอยู่ในสภาวะอย่างไร ? หรือแม้กระทั่งเกิดคำถามว่า จะเป็นไปได้หรือไม่

             ที่การก่อการร้ายดังกล่าวนั้น อาจนำไปสู่การล่มสลายของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจาก
             รัฐอาจจะจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความมั่นคงของรัฐมากกว่าประชาธิปไตย อย่างที่มี
             การเรียกว่า “ความมั่นคงนำประชาธิปไตย” (หรือโดยนัยก็คือ “ความมั่นคงนำการเมือง”)


                   แต่ว่าที่จริงแล้ว รัฐมหาอำนาจส่วนหนึ่งเคยมีประสบการณ์กับปัญหาเช่นนี้มาก่อนตั้งแต่
             ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นสู่อำนาจของมุสโสลินี (Benito Mussolini)
             ใน ค.ศ. 1922 หรือการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ใน ค.ศ. 1933 จนทำให้เกิด
             สงครามโลกใน ค.ศ. 1939 ซึ่งในขณะนั้นก็เกิดคำถามว่าระบอบประชาธิปไตยจะล่มสลาย

             หรือไม่ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นคำตอบได้อย่างชัดเจนว่าระบอบประชาธิปไตย
             ยังสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงเช่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เพราะฉะนั้น
             ความรุนแรงจากการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ได้กลายเป็นความท้าทายในมิติใหม่อีกชุดหนึ่ง
             แต่เราก็เห็นความพยายามที่จะดำรงความเป็นรัฐประชาธิปไตยในท่ามกลางโลกของความรุนแรง

             แม้ว่ารัฐจะต้องเผชิญกับการก่อการร้ายขนาดใหญ่ก็ตาม

                   ในโลกการเมืองสมัยใหม่ โจทย์เรื่องความมั่นคงที่เกี่ยวกับความรุนแรงจากการก่อการร้าย
             และการก่อความไม่สงบเป็นความท้าทายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่เสมอ
             ดังเช่นที่เคยปรากฏมาแล้วในยุคสงครามเย็น ในอีกด้านหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่ามิติของการ

             ก่อสงครามก็เปลี่ยนไป ซึ่งเราจะเริ่มเห็นภาวะคู่ขนานจากสงครามที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความขัดแย้ง
             และการต่อสู้ระหว่างรัฐมหาอำนาจใหญ่ ซึ่งภาวะเช่นนี้ก็ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายกับระบอบ
             ประชาธิปไตยของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะปัจจุบันที่เห็นถึงการแข่งขันระหว่างสองรัฐ
             มหาอำนาจใหญ่อย่างชัดเจน คือ สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

             อันเป็นเสมือนการเดินย้อนเวลากลับสู่ “ยุคแห่งการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่” (The Age       การแสดงปาฐกถานำ
             of Great Power Competition) เช่นที่เกิดมาแล้วในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20

                   การแข่งขันเช่นนี้ถือเป็นตัวอย่างความท้าทายของโลกประชาธิปไตยที่เราเผชิญอยู่

             อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของสองรัฐมหาอำนาจใหญ่ที่เป็นเหมือนความท้าทายในเวทีโลก
             ดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างไรนั้น เราอาจจะยังไม่มีคำตอบทันที
             ในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างน้อยคำถามเหล่านี้ก็ชวนให้เกิดการคิดต่อ และดังที่กล่าวไปแล้ว
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68