Page 68 - kpiebook65043
P. 68

6    สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 ดังนั้น จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในข้างต้น อาจทดลองสรุปเป็นภาพมหภาคสิบข้อได้
           ดังนี้

                 1) ประชาธิปไตยเผชิญกับความท้าทายจากกระแสความเปลี่ยนแปลงในมิติระหว่าง

           ประเทศซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงชุดที่ใหญ่ที่สุด และถ้าหากกล่าวในคำภาษาเก่า
           ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ในวันนี้ กำลังมีสภาวะเป็น “สงครามเย็น
           ในศตวรรษที่ 21” (The 21st Century Cold War) ซึ่งสงครามเย็นในศตวรรษที่ 21 นี้
           จะมีผลกระทบต่อประชาธิปไตยเหมือนเมื่อครั้งที่สงครามเย็นในศตวรรษที่ 20 ส่งผลกระทบต่อ
           ระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกหรือไม่ จึงเป็นโจทย์แห่งความท้าทายที่จะต้องเฝ้าดูด้วยกันต่อไป

           ในอนาคต

                 2) ระบอบประชาธิปไตยในเวทีโลกจะทำอย่างไรที่บรรดากลุ่มขวาสุดโต่งจะสามารถดำรง
           อยู่ในสภาวะที่ไม่สุดโต่งจนเกินไป หรืออย่างน้อย เป็นไปได้หรือไม่ที่ขบวนการอนุรักษ์นิยม

           จะดำรงสภาวะของการเป็นอนุรักษ์เสรีนิยม (liberal conservatives) ที่เป็นแบบกระแสหลัก
           ซึ่งหมายถึงประชาธิปไตยต้องการอนุรักษ์นิยมที่เป็นเสรีนิยม ไม่ใช่อนุรักษ์นิยมแบบขวาจัด
           ที่เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ความท้าทายในอีกมุมหนึ่งก็คือ ฝ่ายขวา
           จะดำรงตนให้เป็น “อนุรักษ์เสรีนิยม” ได้จริงเพียงใด


                 3) ถ้าอนุรักษ์นิยมเดินสู่ความเป็นกระแสสุดโต่งมากขึ้นแล้ว จะทำอย่างไรที่กระแส
           สุดโต่งชุดนี้จะไม่กลายเป็น “ลัทธิฟาสซิสต์” (Fascism) ในศตวรรษที่ 21 โจทย์ชุดนี้ถือเป็น
           โจทย์ที่มีความท้าทายอย่างมาก ซึ่งความท้าทายใหญ่ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นหลัง ค.ศ. 1922
           ก็คือ การขึ้นสู่อำนาจของมุสโสลินีในอิตาลี และใน ค.ศ. 1933 ก็เกิดการขึ้นสู่อำนาจของ

           ฮิตเลอร์ในเยอรมนี หลังจากนั้นในเวลาเดียวกัน โลกก็เห็นการขึ้นสู่อำนาจของปีกฟาสซิสม์
           ในเอเชีย โดยเฉพาะในญี่ปุ่น หมายความว่า ความน่ากังวลส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยในวันนี้
           คือ ทำอย่างไรที่ปีกอนุรักษ์นิยมจะไม่พลิกตัวจนสุดโต่ง แล้วกลายเป็นลัทธิฟาสซิสต์ในศตวรรษ
           ที่ 21


                 4) ทำอย่างไรที่ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจาก
           การระบาดใหญ่ของเชื้อโรค แน่นอนว่าในวันนี้เรามักจะพูดกันในบริบทของไวรัสโควิด - 19
     การแสดงปาฐกถานำ   หายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (Severe Accurate Respiratory Syndrome – SARS)
           แต่จะต้องไม่ลืมว่าก่อนเกิดโรคโควิด-19 โลกก็เผชิญกับโรคระบาดไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดิน



           โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) หรือกรณีของโรคไข้หวัดนก
           (Avian Influenza) และแม้ในวันนี้เราจะเห็นการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด - 19 ในเวทีโลก
           แต่ในขณะเดียวกันหลายพื้นที่ก็ยังคงมีโรคระบาดเดิมอยู่ ดังนั้น คำถามสำคัญอีกคำถามก็คือ

           ทำอย่างไรที่ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถรับมือกับความมั่นคงด้านสาธารณสุข
           หรือทำอย่างไรที่ประชาธิปไตยจะสร้างความมั่นคงในบริบททางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับ
           สังคมได้มากขึ้น และทำได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบอบอำนาจนิยม
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73