Page 64 - kpiebook65043
P. 64
64 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ในข้างต้นว่า รัฐประชาธิปไตยตะวันตกเคยเผชิญกับความท้าทายของรัฐมหาอำนาจใหม่ และยัง
สามารถดำรงความเป็นประชาธิปไตยไว้ได้ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
นอกจากนี้ เราจึงยังคงมีความหวังอีกประการว่า รัฐประชาธิปไตยจะสามารถรับมือกับ
ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเรื่องต่าง ๆ ได้ รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจด้วย
ถ้าหากมองจากมิติทางประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าการล้มลงของตลาดเงินทุนในมลรัฐนิวยอร์ค
จนส่งผลให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกใน ค.ศ. 1930 ก็ถือเป็นความท้าทายต่อระบอบ
ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา และแน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงความท้าทายต่อประชาธิปไตย
ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หากแต่ยังท้าทายต่อระบอบประชาธิปไตยในพื้นที่ทั่วโลก
คำถามสำคัญที่ตามมาคือ เมื่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมประสบวิกฤต แล้วระบอบ
ประชาธิปไตยจะรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างไร ?
โจทย์นี้ถือเป็นโจทย์ที่น่าสนใจและน่านำมาคิดต่อ เนื่องจากยังคงเป็นโจทย์ที่ดำรงอยู่
จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการเกิดสงครามทางการค้าระหว่างสองมหาอำนาจ
ใหญ่ ทำให้ต้องคิดต่อว่าสงครามการค้าเช่นนี้จะขยายตัวกลายเป็นสงครามเศรษฐกิจชุดใหญ่
ของโลกหรือไม่ และถ้าหากเกิดการขยายตัวเป็นสงครามเศรษฐกิจชุดใหญ่จนนำไปสู่วิกฤต
เศรษฐกิจของโลก สภาวะดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตยอย่างไร ? อย่างไรก็ตาม
ปัญหาของโจทย์ชุดนี้อาจจะต้องเป็นโจทย์ที่คิดต่อระยะยาวในอนาคต แต่อย่างน้อย สิ่งที่เกิดขึ้น
ก็ท้าทายให้เราคิดไม่ต่างจากความท้าทายด้านมิติความมั่นคง
ในอีกมุมหนึ่ง มิติของความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีก็ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก
จะเห็นได้ว่าในวันนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ติดตัวกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ
สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (Smart Technology) ทั้งหลายซึ่งกลาย
เป็นกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รั้งไม่อยู่ในวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก้าวไปถึงเทคโนโลยี
5G และ Metaverse ที่กลายเป็นความพลิกผันชุดใหญ่ และกำลังพาสังคมไปสู่อนาคตแบบที่
คาดไม่ถึง อันมีนัยว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะ “disrupt” ในทางสังคม
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของมิติโลกในอดีตซึ่งหากนับจาก
ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงการก้าวเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ 20 แล้ว คือการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การแสดงปาฐกถานำ (Industrial Revolution) ดังนั้น ในวันนี้ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่เป็นผลมาจาก
ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ก็กำลังจะเปลี่ยนมิติของโลกไม่ต่างจากการเปลี่ยนแปลง
ที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเคยทำในประวัติศาสตร์ ดังนั้น ถ้าหากยอมรับว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ในอดีตเป็นปัจจัยของความแปรปรวนหรือความผันผวน (disruption) ที่เคยเกิดขึ้น และคงต้อง
ยอมรับว่าความผันผวนในปัจจุบันนั้น เกิดจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยี และความผันผวนที่เกิด
จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 นี้ อาจจะใหญ่กว่าความผันผวนที่เกิดจาก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ขณะเดียวกัน ความผันผวนในปัจจุบันนี้ก็ท้าทาย