Page 61 - kpiebook65043
P. 61

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  61
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   ดังนั้น จึงไม่แปลกที่หลายคนมีความฝัน และเชื่อว่ารัสเซียจะเป็นประชาธิปไตย
             หรือมองเห็นการเลือกตั้งในรัสเซียด้วยความหวังอย่างมาก แต่สุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง
             กลับไม่ได้ตอบโจทย์ของความฝันชุดนี้อย่างแท้จริง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ความฝันชุดนี้จบลง
             ในรูปแบบที่ไม่มีใครคาดคิด ประชาธิปไตยที่เดินไปข้างหน้าจากการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

             ที่เกิดขึ้น กลับหยุดอยู่ระหว่างทางของความเป็นประชาธิปไตยกับความเป็นเผด็จการในระบอบ
             อำนาจนิยม ซึ่งเราอาจเรียกสภาวะของการหยุดอยู่ตรงกลางนี้ว่า เป็นประชาธิปไตยที่หยุดอยู่ใน
             “พื้นที่สีเทา” (หรือที่เรียกว่า “transition in the gray zone”)

                   สภาวะของประชาธิปไตยในพื้นที่สีเทาดังกล่าวก่อให้เกิดการปกครองรูปแบบใหม่

             ที่ถูกเรียกด้วยภาษาทางทฤษฎีในวิชา “เปลี่ยนผ่านวิทยา” (Transitology) ว่าเป็นการเมือง
             ในแบบ “ระบอบไฮบริด” (Hybrid Regimes) หรือหมายถึงการกำเนิดของ “ระบอบพันทาง”
             อันอาจเรียกได้ว่าเป็น “ระบอบครึ่ง ๆ กลาง ๆ”


                   คำถามสำคัญในสภาวะของการเมืองที่การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยหยุดลงกลางทางนี้
             คือ จุดที่หยุดลงนั้น เป็นจุดที่ค่อนไปสู่ความเป็นเสรีนิยม หรือเป็นจุดที่ค่อนไปสู่อำนาจนิยม
             ถ้าหากจุดที่หยุดนั้นค่อนไปทางที่เป็นประชาธิปไตย ก็จะเกิดสภาวะของ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”
             (half democracy) หรือที่เรียกในทางทฤษฎีว่า “ระบอบกึ่งประชาธิปไตย” (semi-democratic

             regime) ซึ่งเป็นสิ่งที่ครั้งหนึ่งเราคุ้นเคยในการเมืองไทยในยุคของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
             แต่ถ้าหากจุดที่หยุดลงนั้นค่อนไปทางอำนาจนิยม ก็จะเกิดสภาวะของความเป็นเผด็จการ
             แบบครึ่งใบ หรือที่เรียกว่า “ระบอบกึ่งอำนาจนิยม” (semi-authoritarian regime) เหมือนอย่าง
             ที่เราเห็นในการเมืองรัสเซียปัจจุบัน


                   ปรากฎการณ์ดังกล่าวท้าทายทางความคิดอย่างมากว่า ในกรณีที่การเปลี่ยนผ่านทาง
             การเมืองหยุดลงตรงพื้นที่สีเทา และเกิดระบอบการเมืองในรูปแบบใหม่ขึ้น ระบอบใหม่เช่นนี้
             จึงแตกต่างจากระบอบอำนาจนิยมแบบเดิมอย่างมาก ดังตัวแบบจากระบอบการเมืองของรัสเซีย
             ตุรกี กัมพูชา หรือเมียนมาก่อนการรัฐประหารปัจจุบัน เป็นต้น  ปรากฎการณ์เช่นนี้ทำให้เกิด

             คำตอบในทางทฤษฎีอย่างชัดเจนว่า ระบอบพันทางคือ รูปแบบใหม่ของ “ระบอบเผด็จการ
             ในศตวรรษที่ 21”  และไม่จำเป็นต้องเป็นระบอบเผด็จการทหารในแบบเก่า

                   การกำเนิดขึ้นของระบอบพันทางนี้ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะในชุดวิธีคิด
             เดิมนั้น การเมืองจะถูกแบ่งออกเป็นเพียงสองฝั่ง ที่เป็นดัง “ขาวกับดำ” คือ ฝั่งที่เป็น

             ประชาธิปไตย และฝั่งที่เป็นเผด็จการ แต่เมื่อเกิดการปกครองในระบอบพันทางขึ้น เรากลับ        การแสดงปาฐกถานำ
             ได้เห็นสภาวะการเมืองแบบใหม่ที่เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไปแล้ว แต่กลับหยุดอยู่ตรงกลาง
             และไม่เดินต่อจนทำให้เกิดการปกครองขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง ในสภาวะเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า

             ความฝันที่เชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยจะกลายเป็นกระแสของโลก และเป็น
             “กระแสหลัก” ประการเดียวนั้น ถูกท้าทายจากรูปธรรมที่ทำให้เห็นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านสู่
             ประชาธิปไตยที่ก่อให้เกิดระบบการเมืองของประเทศที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยใหม่”
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66