Page 216 - kpiebook65043
P. 216

216  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           และฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา) และถ้าหากกฎหมายที่ตราขึ้นนั้นมีปัญหา รัฐก็สามารถแก้ไข
           เพิ่มเติมกฎหมายได้ นั่นหมายความว่า แม้จะมองว่ากฎหมายเป็นอุปสรรค แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะ
           จัดการไม่ได้เสียทีเดียว


                 2) ประเด็นเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของตัวบทกฎหมาย ในประเด็นนี้ มานิตย์เห็นว่า
           จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อะไรที่เรียกว่า “ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการภาครัฐในภาวะ
           วิกฤต” โดยในทางกฎหมาย “ความยืดหยุ่น” ในที่นี้ หมายถึง การเขียนกฎหมายให้ผู้ใช้อำนาจ
           ของรัฐมีดุลพินิจที่จะปรับใช้อำนาจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภาวะวิกฤต และมานิตย์
           ได้ยกตัวอย่างถึงสถานการณ์โรคระบาดโควิด - 19 ซึ่งในช่วงแรกกฎหมายที่ถูกเลือกนำมาใช้

           จัดการกับภาวะวิกฤตดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพราะมองว่า
           โรคระบาดดังกล่าวเป็นโรคติดต่อร้ายแรงตามนิยามของกฎหมาย แต่เมื่อนำกฎหมายดังกล่าว
           มาใช้ปรากฏว่ากฎหมายนั้นได้ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดดูแลโรคติดต่อภายใน

           ขอบเขตจังหวัด ทั้งที่โรคระบาดดังกล่าวได้ระบาดไปทั่วประเทศโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน
           จึงได้เกิดการเลือกกฎหมายฉบับอื่นมาใช้เพื่อจัดการกับภาวะวิกฤต และถ้าหากพิจารณา
           กฎหมายที่จัดการกับภาวะวิกฤตในประเทศไทยแล้ว จะพบว่ามีอยู่สองลักษณะ คือ
           หนึ่ง กฎหมายที่บัญญัติไว้สำหรับใช้ในภาวะปกติ แต่มีบางหมวดพิเศษในกฎหมาย
           ฉบับเดียวกันนั้นเองที่กำหนดเรื่องการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต เช่น กฎหมายที่กำหนด

           เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ก็จะมีบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องการบริหารจัดการน้ำ
           ในสภาวะทั่วไป และมีหมวดที่กล่าวถึงการจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะวิกฤต และสอง คือ
           กฎหมายที่เขียนสำหรับการบริหารจัดการภาครัฐในภาวะวิกฤตโดยเขียนให้อำนาจจัดการไว้ค่อน

           ข้างกว้างเพื่อให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
           พ.ศ. 2548 หรือกฎอัยการศึก

                 ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่กำหนดให้เกิดการบริหารราชการอย่างยืดหยุ่นก็มีบัญญัติไว้
           จึงอยู่ที่ว่าผู้ใช้อำนาจรัฐจะเลือกหยิบกฎหมายอะไรมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่

           และการตีความก็สามารถทำได้ค่อนข้างกว้าง เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการ
           ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ก็ได้กำหนดนิยามของสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ค่อนข้างกว้าง
           ว่าเหมือนถึงสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
           ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะการจลาจลทางการเมือง หรือการชุมนุมทางการเมืองอันเป็นจุดกำเนิด

           ของการตราพระราชกำหนดนี้เท่านั้น แต่ยังสามารถตีความถึงสถานการณ์โรคระบาดได้อีกด้วย
           จึงอาจกล่าวได้ว่า พระราชกำหนดดังกล่าวมีระดับความยืดหยุ่นให้ผู้มีอำนาจซึ่งก็คือ
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   นายกรัฐมนตรีเลือกใช้ และถ้าหากเลือกใช้อำนาจอย่างไรแล้ว ความรับผิดชอบก็จะตามมา


                 3) ประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจ โดยมานิตย์ได้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ดุลพินิจ

           ของรัฐตามที่กฎหมายให้อำนาจนั้น จะต้องมีข้อมูล และต้องใช้ตามกฎหมายที่กำหนด นั่นคือ
           เมื่อกฎหมายกำหนดให้รัฐสามารถใช้ดุลพินิจได้ ก็มักจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้อำนาจ
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221