Page 221 - kpiebook65043
P. 221

221
                                                                                   สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  221
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                   2) การจัดการภาวะวิกฤตจะต้องทำด้วยความ “รวดเร็ว รอบคอบ และชอบด้วย
             กฎหมาย” นั่นคือ ต้องมีกฎหมายที่ให้ดุลพินิจในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และจะต้องมี
             การกำหนดมาตรการให้หน่วยงานของรัฐสามารถเลือกใช้อย่างสอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้
             และประการสุดท้าย คือ จะต้องทำด้วยความชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงควรจะต้องมีกลไก

             การตรวจสอบ มีองค์ความรู้ด้านกฏหมายร่วมด้วย

                   ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีหลายประเทศเขียนกฎหมายกลางสำหรับการบริหารจัดการ
             ในภาวะวิกฤตเอาไว้จึงควรต้องมีการทบทวนว่าบทบัญญัติเหล่านั้นเหมาะสมกับประเทศไทย
             หรือไม่ ที่สำคัญ มานิตย์ได้เน้นย้ำว่าการรับมือกับภาวะวิกฤตนั้น จะต้องมีการเรียนรู้

             แล้วถอดบทเรียนเพื่อรองรับกับภาวะวิกฤตอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้อีก


             สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4      2


                   โจทย์สำคัญสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 เริ่มต้นจากการตั้งโจทย์ว่าภาครัฐจะต้อง
             ดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตได้ แต่การอภิปราย

             ได้เริ่มต้นจาการสะท้อนให้เห็นว่า ท่ามกลางภาวะวิกฤตนั้นได้ทำให้ภาครัฐได้เข้าใจภาพของ
             ปัญหามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน หรือวิกฤตที่ค่อย ๆ สะสมจนกลายเป็น
             ปัญหาใหญ่ก็ตาม และจากนั้นก็ได้มีการแลกเปลี่ยนกันว่าการเกิดวิกฤตได้สะท้อนให้เห็นภาพ
             ความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐอย่างไรบ้าง โดยได้มีการนำเสนอว่าจะต้องมีการปรับ

             วิธีคิด (mindset) และต้องดูเรื่องระบบยุติธรรม ตลอดจนดูเรื่องการบังคับใช้กฎหมายด้วย
             โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้

                   1) ระบบราชการยังเน้นไปที่การรวมศูนย์ และยังมีลักษณะการทำงานที่ขาด
             การบูรณาการกัน ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไขจึงต้องเริ่มจากการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

             และการสร้างระบบการทำงานที่ทำให้เกิดการบูรณาการกันทั้งหมด ที่สำคัญจะต้องมี
             การตั้งโจทย์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ราชการแต่ละส่วนทั้งราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
             และราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องทำหน้าที่อะไร มีขอบเขตอำนาจเพียงใด ราชการส่วนกลาง
             ควรจะต้องทำอะไร และมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ต้องทำ ตลอดจนจะต้องมีการทบทวนเรื่องการปรับ

             บทบาท โดยรัฐส่วนกลางควรมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน
             และเป็นผู้อำนวยการให้เกิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีที่สุดเมื่อเกิดภาวะวิกฤต
             หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐจะต้องเปลี่ยนจากการทำบทบาทเป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหา
             มาเป็นคนที่ประสานเพื่อให้ทุกภาคส่วนมาหาทางออกร่วมกัน






                 2   สรุปการประชุมกลุ่มย่อย โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
             พระปกเกล้า
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226