Page 226 - kpiebook65043
P. 226

226   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ได้กำหนดกฎหมายให้น้ำหนักไปทางการรักษาความมั่นคงของรัฐมากกว่าเสรีภาพของประชาชน
           ในบางสถานการณ์ และการให้น้ำหนักดังกล่าวก็กลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกัน
           อย่างต่อเนื่องทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย


                 ในกลุ่มย่อยนี้ ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
           สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้ดำเนินรายการกลุ่มย่อยที่ 5 เรื่อง “ดุลยภาพระหว่าง
           ความมั่นคงของรัฐกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน” จะชวนทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็น
           เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนร่วมกันหาคำตอบเพื่อสร้าง
           ดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ

           ในภูมิทัศน์การเมืองใหม่ของประเทศไทย


           สิทธิเสรีภาพของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ
           กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


                 ศยามล ไกรยูรวงศ์ ได้สะท้อนภาพกว้าง ๆ ของการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

           โดยแสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญหลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครอง
           สิทธิเสรีภาพตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเอง
           โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิ
           เสรีภาพของประชาชนไว้ค่อนข้างกว้าง อีกทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดรับรองเรื่อง
           ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใด ก็ไม่ได้รับรองสิทธิเสรีภาพ

           ของประชาชนทุกด้านอย่างเด็ดขาด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน
           บางประเภทอาจถูกจำกัดได้ด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อจำกัดอีกประการของการใช้
           สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็คือ จะต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพไปในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของ

           คนอื่น นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันยังได้กำหนดเงื่อนไข
           ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพิ่มขึ้นอีก โดยมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า

                 “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ
           ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อม

           มีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้
           สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ
           ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของ
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ถ้าหากมีการกำหนดการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมาย หรือเป็นกรณี
           บุคคลอื่น”


                 จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น อาจถูกจำกัดได้


           ที่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
           ของประชาชน หรือการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น โดยการกำหนด
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231